Home ข่าวเด่น ดิจิทัล คนเลี้ยงสัตว์ ในจีน ร่วมพิทักษ์ ‘แม่น้ำล้านช้าง’ สายธารแห่งชีวิต ใน 6 ประเทศ

คนเลี้ยงสัตว์ ในจีน ร่วมพิทักษ์ ‘แม่น้ำล้านช้าง’ สายธารแห่งชีวิต ใน 6 ประเทศ

12 second read
0
0
268

ซีหนิง , 23 ม.ค. (ซินหัว) — ห้วงปี ที่ผ่านมา ความสุขที่สุดของ “หลี่ซวงเย่” สมาชิกทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลาในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง (ล้านช้าง) ช่วงอำเภอจ๋าตัว มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน คือ การกลับมาของ “ปลาดุกซี่เหว่ย” ที่สูญหายจากตอนบนของแม่น้ำหลานชาง นานกว่า 40 ปี

แม่น้ำหลานชาง (แม่น้ำล้านช้าง/แม่น้ำโขง) นั้น มีต้นกำเนิดที่อำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต ของชิงไห่ ถือเป็นหนึ่งในระบบน้ำข้ามประเทศที่มีความสำคัญมากที่สุด ในเอเชีย ไหลจากเหนือลงใต้ ผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีน ใต้ในท้ายที่สุด ทั้งยังเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุด อันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย

อำเภอจ๋าตัว ได้ก่อตั้งทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลา ในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง เมื่อปี 2021 โดยทำหน้าที่ลาดตระเวนประจำวัน กำกับดูแลการห้ามจับปลา และการสนับสนุนทางนโยบาย ในพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง ซึ่งปัจจุบันทีมลาดตระเวนมีสมาชิก ทั้งหมด 66 คน แล้ว

หลี่ เผยว่า คณะนักวิทยาศาสตร์พบเจอ ปลาดุกซี่เหว่ย ระหว่างสำรวจพื้นที่ เมื่อเดือนสิงหาคม 2023 ซึ่งการกลับมาปรากฏตัวของปลาดุกนี้ สะท้อนผลสำเร็จ การทำงานคุ้มครองระบบนิเวศของพวกเขา และพิสูจน์ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาของพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง ที่ได้รับการดูแลรักษา อย่างมีประสิทธิภาพ

การกลับมาปรากฏตัวของปลาดุกซี่เหว่ย นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผล จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเลี้ยงสัตว์ ริมฝั่งแม่น้ำหลานชางมาเป็นผู้พิทักษ์ธรรมชาติ หลังจากมีการดำเนินโครงการนำร่อง ระบบอุทยานแห่งชาติ ซานเจียงหยวน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2016 ซึ่งมุ่งคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง ตัดลดกิจกรรมของมนุษย์ รวมถึงปกป้องแหล่งน้ำ และทุ่งหญ้า

ด้าน ตำบลอั๋งไซ่ ในอำเภอจ๋าตัว ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าคุ้มครองระดับสูงสุดของจีน อย่างเสือดาวหิมะ ได้ดำเนินโครงการนำร่องสร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาติ เมื่อปี 2019 เพื่อดึงดูดผู้คนมาเยี่ยมชมธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยพลิกชีวิตของเหล่าคนเลี้ยงสัตว์ท้องถิ่น เช่นกัน

อี้ซี อายุ 52 ปี เป็นหนึ่งในคนเลี้ยงสัตว์ของตำบลอั๋งไซ่ ชุดแรก ที่ผันตัวมาเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยว ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนำร่องสร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาติ ดังกล่าว โดยเขาสามารถหารายได้จากการทำงานในบ้านเกิด พร้อมกับดูแลภูเขาปกป้องแม่น้ำ และพบปะเพื่อนฝูงจากทั่วทุกมุมโลก

“โครงการนำร่อง สร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาตินี้ ช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และการคุ้มครองสัตว์ป่า ทำให้ทั้งคนและป่าได้รับประโยชน์ร่วมกัน” ไชวั่งตัวเจี๋ย ผู้นำตำบลอั๋งไซ่กล่าว

อนึ่ง แถลงการณ์เนปิดอว์ จากการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ของคณะผู้นำ จาก 6 ประเทศ (จีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม) เมื่อเดือนธันวาคม 2023 ระบุ การส่งเสริมการก่อสร้างประชาคม ที่มีอนาคตร่วมกันของกลุ่มประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่การสร้างความทันสมัย

ภาพประกอบข่าว

(ภาพ จาก ผู้ให้สัมภาษณ์ : สมาชิกทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลา ในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง ทำความสะอาดแม่น้ำในอำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เดือนธันวาคม 2023)

(แฟ้มภาพซินหัว : อี้ซี จัดระเบียบรูปภาพบนผนังบ้านของเขา ในตำบลอั๋งไซ่ อำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 19 ส.ค. 2023)

(แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์อุทยานต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง สังกัด อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 19 ส.ค. 2023)

อ่านข่าวเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.xinhuathai.com/soc/413559_20240124

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ  จันทร์  29  มกราคม 2567  19:41:59 เข้าชม : 1873549 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด โครงการค่ายเยาวชน เพื่อการให้ “TAKE LESS, GIVE MORE”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยป้องกั … …