Home ข่าวเด่น ดิจิทัล จีน เผย ‘ตลาดข้อมูล’ หนุน การพัฒนา ‘นวัตกรรม’ เติบโตเร็ว ในปี 2023

จีน เผย ‘ตลาดข้อมูล’ หนุน การพัฒนา ‘นวัตกรรม’ เติบโตเร็ว ในปี 2023

21 second read
0
0
175

ปักกิ่ง, 16 ม.ค. (ซินหัว) — ปี 2023 ตลาดข้อมูลของจีน ได้พัฒนานวัตกรรมไป อย่างรวดเร็ว โดยเกิดการปฏิรูปเชิงสถาบัน ทั่วประเทศ

เมื่อเดือนธันวาคม 2022 จีน ได้ออกเอกสาร ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างระบบพื้นฐาน สำหรับข้อมูล เพื่อพัฒนาบทบาทของทรัพยากรข้อมูลอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ต้นปี 2023 เมืองต่างๆ เช่น ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ ได้เปิดตัวมาตรการที่เกี่ยวกับข้อมูลหลายมาตรการ

ปักกิ่ง ได้ตั้งเป้าหมาย ที่จะขยายขนาดตลาดข้อมูล ให้แตะ 2 แสนล้านหยวน (ราว 9.83 แสนล้านบาท) ภายในปี 2030 พร้อมให้คำมั่นว่า จะดำเนินงานนำร่องการสร้างระบบพื้นฐาน ระดับชาติ สำหรับข้อมูลให้เสร็จสิ้น ภายในปี 2030 และจะจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมบริการข้อมูลด้วย

ส่วนเซี่ยงไฮ้ตั้งเป้าขยายขนาดของอุตสาหกรรมข้อมูลให้แตะ 5 แสนล้านหยวน (ราว 2.45 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 15

เมื่อนับถึงเดือนสิงหาคม 2023 มณฑล เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนครต่างๆ 27 แห่งในจีน ได้จัดตั้งสถาบันเฉพาะทางระดับมณฑลเพื่อบริหารจัดการบิ๊กดาต้า

เมื่อนับถึงเดือนพฤศจิกายน 2023 ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศปักกิ่ง (Beijing International Data Exchange) ได้ออกใบรับรองสำหรับการลงทะเบียนสินทรัพย์ข้อมูล 27 ใบ และมีมูลค่าการซื้อขายข้อมูลสูง กว่า 2 พันล้านหยวน (ราว 9.83 พันล้านบาท)

ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2023 มูลค่ารวมของการซื้อขายข้อมูลในศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลเซี่ยงไฮ้ (SDE) จะสูงแตะ 1 พันล้านหยวน (ราว 4.91 พันล้านบาท) โดยมี จำนวนผลิตภัณฑ์ข้อมูลอยู่ที่ ราว 2,000 รายการ

ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2023 จีนจัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนข้อมูลแห่งใหม่ 5 แห่ง จีน จึงมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 53 แห่ง อีกทั้งสถาบันการซื้อขายข้อมูลที่ยังคงดำเนินงานอยู่ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ข้อมูล

มากกว่า 12,000 ประเภท ส่วนแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อมูล (Generative AI) โดยแชตจีพีที (ChatGPT) ส่งผลให้เกิดความต้องการข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

ปี 2022 การส่งออกข้อมูลของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบปีต่อปี แตะ 8.1 เซตตะไบต์ (ZB) คิดเป็นร้อยละ 10.5 ของทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่สองของโลก ขณะที่การนำข้อมูลไปใช้ยังช่วยเร่งการนำโมเดล และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ไปใช้ให้เกิดขึ้นจริง

ส่วนในภาคการเงิน ข้อมูลยังถูกนำไปใช้สำหรับการสร้างนโยบายราคาที่แตกต่างกัน การตลาดแบบกำหนดเป้าหมาย และคำแนะนำการลงทุนที่อัจฉริยะ ขณะที่ในภาคการค้าปลีกใหม่ นั้น การปฏิบัติการอัจฉริยะที่อิงกับข้อมูลได้ส่งมอบบริการเฉพาะสำหรับผู้บริโภคแต่ละคน พร้อมทั้งเกิดการบูรณาการทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์

นักวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมจงซาง (Zhongshang Industry Research Institute) ระบุว่าขนาดของตลาดข้อมูลของจีนถูกตั้งเป้าไว้ที่ 1.59 แสนล้านหยวน (ราว 7.81 แสนล้านบาท) ในปี 2024 โดยมีการกระตุ้นจากนโยบาย เทคโนโลยีใหม่ๆ และความต้องการของตลาด

(เรียบเรียง โดย Su Dan, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/411634_20240116 , https://en.imsilkroad.com/p/337924.html)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ  ศุกร์  19  มกราคม 2567  17:16:59 เข้าชม : 1593648 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด โครงการค่ายเยาวชน เพื่อการให้ “TAKE LESS, GIVE MORE”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยป้องกั … …