Home ข่าวเด่น ทันใจ ‘ท่องเที่ยววัฒนธรรม’ ในจีนโตพุ่ง ชูจุดเด่นแต่ละท้องถิ่น

‘ท่องเที่ยววัฒนธรรม’ ในจีนโตพุ่ง ชูจุดเด่นแต่ละท้องถิ่น

24 second read
0
0
97

ปักกิ่ง, 31 พ.ค. (ซินหัว) — ในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจีน เติบโตในระดับสูงขึ้น ผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น ไปจนถึงการท่องเที่ยวอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย และการท่องเที่ยวสไตล์จีนที่กำลังมาแรง ทำให้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10.6 ระหว่างปี 2012-2021 และในช่วงปี 2012 – 2019 ยอดทริปเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นสองเท่า โดยตัวเลขทริปท่องเที่ยวแตะที่ 4.891 พันล้านครั้งในปี 2023 ส่งผลให้เกิดการบริโภครวม 4.91 ล้านล้านหยวน (ราว 24.81 ล้านล้านหยวน) ขณะไตรมาสแรกของปี 2024 การบริโภคการท่องเที่ยวภายในประเทศมีมูลค่าแตะ 1.52 ล้านล้านหยวน (ราว 7.68 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี

จีน มีตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ภูมิภาคต่าง ๆ ในจีนยังคงเดินหน้าสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวของตนเองที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับการท่องเที่ยวท้องถิ่น

ยกตัวอย่าง เช่น นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาในเมืองจือโป๋ มณฑลซานตง ทางตะวันออกของจีน เพื่อรับประทานเนื้อย่างสูตรพิเศษและซุปหมาล่า ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงอิทธิพลของ “เศรษฐกิจอินฟลูเอนเซอร์” ที่เหล่าคนดังมีอิทธิพลต่อหารตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้คน

ขณะที่เมืองเหวินชาง ในมณฑลไห่หนานทางตอนใต้ของจีน ได้พัฒนา “การท่องเที่ยวทางอวกาศ” อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากการปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 6 (Chang’e 6) ของจีน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมชมการปล่อยจรวด

เมื่อต้นปี 2024 หน่วยงานด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ก็ได้เปิดตัวโครงการนำร่องระดับชาติชุดแรก เพื่อการพัฒนาพื้นที่ประสบการณ์การท่องเที่ยวอัจฉริยะแบบดำดิ่ง จำนวน 42 โครงการ

ตัวอย่าง เช่น พื้นที่สัมผัสประสบการณ์คลองใหญ่หรือคลองขุดต้าอวิ้นเหอผ่านเทคโนโลยี 5G ณ พิพิธภัณฑ์ในเมืองหยางโจวมณฑลเจียงซู หรือสัมผัสประสบการณ์โลกเสมือนในธีม “ย้อนอดีตสู่ถังราวความฝัน” (A Dreamlike Time Travel to Tang Dynasty) ที่อ่าวเนียนฮวา ในเมืองอู๋ซีมณฑลเจียงซู

หวังจินเหว่ย ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาปักกิ่ง (Beijing International Studies University) กล่าวว่าความต้องการของผู้คนมีความหลากหลายและแตกต่างมากขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ คลังข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และปัญญาประดิษญ์ (AI) จึงได้รับการบูรณาการอย่างลึกซึ้งเข้ากับสถานการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพสูงขึ้น

ทั้งนี้ ช่วงวันหยุดวันแรงงานที่ผ่านมา จีน รายงาน ว่า พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับการสำรวจ รองรับนักท่องเที่ยวช่วงเวลากลางคืนรวม 72.57 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี

(เรียบเรียง โดย Yang Yifan, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/440146_20240531 , https://en.imsilkroad.com/p/340302.html)

———————————————————————————————————————————

ภาพประกอบข่าว

(แฟ้มภาพซินหัว : นักท่องเที่ยวถ่ายภาพกับทิวทัศน์ธรรมชาติในอำเภออูซาน เทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 16 พ.ค. 2024)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 31 พฤษภาคม  2567  16:54:59 เข้าชม : 1896525 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ทันใจ
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด โครงการค่ายเยาวชน เพื่อการให้ “TAKE LESS, GIVE MORE”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยป้องกั … …