Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เพิ่ม การสำรองทองคํา

บทวิเคราะห์ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เพิ่ม การสำรองทองคํา

6 second read
0
0
388

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาทองคําโลก เปิดเผย รายงาน เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการทองคําทั่วโลก ในไตรมาสแรก ประจำปี 2024 โดยระบุว่า ความต้องการทองคําของทั่วโลกในไตรมาสแรกปี 2024 มี จำนวน 1,238 ตัน เพิ่มขึ้น 3 % เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ยังคงเพิ่มการสั่งซื้อทองคำอย่างต่อเนื่อง ทำให้การสำรองทองคําของประเทศต่าง ๆ ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ได้เพิ่มขึ้น 290 ตัน

นักวิเคราะห์ ชี้ให้เห็น ว่า การสำรองทองคํา ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจ เท่านั้น หากยังเป็นวิธีการกระจายความเสี่ยงด้วย มูลค่าที่แท้จริงของทองคํา และสภาพคล่องในตลาดของทองคำ ทําให้ทองคำเป็นตัวเลือกอันดับแรก สําหรับธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในการเสริมสร้างระบบการสํารอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเผชิญกับความผันผวนของตลาดและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จึงสั่งซื้อทองคําในปริมาณมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของทองคําในทุนสํารองระหว่างประเทศ

รายงานเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการทองคําของโลกในไตรมาสแรก ประจำปี 2024 ดังกล่าวยังระบุด้วย ว่า ความต้องการด้านการลงทุนที่แข็งแกร่งจากการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over-the-Counter) หรือ OTC บวกกับธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ซื้อในเอเชีย  ซึ่งผลักดันให้ราคาทองคําโดยเฉลี่ยในไตรมาสแรกปีนี้ (2024) พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยแตะ 2,070 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ราคานี้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2023) 10% และสูงกว่าไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ร้อยละ 5

เนื่องจากทองคำเป็นส่วนประกอบสําคัญทุนสํารองระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ จึงใช้การสำรองทองคําเป็นองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพทุนสํารองระหว่างประเทศ (International reserve portfolio) สถิติจากสภาทองคําโลกระบุว่า จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2023 ยอดการสำรองทองคำโดยรวมของทั่วโลกเป็น จำนวน 36,203 ตัน ในจำนวนนี้ เป็นการสำรองทองคำของสหรัฐอเมริกา 8,133 ตัน คิดเป็น 22.5% ของยอดรวมการสำรองทองคำของทั่วโลก อยู่อันดับหนึ่งของโลก เยอรมนีสํารองทองคํา 3,355 ตัน อยู่อันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ ประเทศอื่น ๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และจีนก็สํารองทองคำเป็นจํานวนมากเช่นกัน

สถิติจากธนาคารกลางจีนระบุว่า จนถึงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้สำรองทองคำ 2,264 ตัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2022 เป็นต้นมาธนาคารกลางจีนได้เพิ่มการสำรองทองคำติดต่อกันเป็นเวลา 18 เดือนแล้ว อย่างไรก็ตาม การสำรองทองคำของจีนในปัจจุบันมีไม่ถึงร้อยละ 5 ของสินทรัพย์สํารองทั้งหมดของประเทศ ซึ่งต่ำกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักตะวันตกที่มีอัตรามากกว่าร้อยละ 50 และต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกที่เป็นเกือบร้อยละ 15 ผู้เชี่ยวชาญจีนระบุว่า การเพิ่มการสํารองทองคำอย่างเหมาะสมมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวน และแม้กระทั่งการส่งเสริมความเป็นสากลของเงินหยวน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่ม UBS ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ราคาทองคําโดยคาดว่า  ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในเดือนกันยายนปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ภายในสิ้นปีนี้ กลุ่ม UBS ระบุว่า คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือเฟดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ความต้องการทองคําอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยหลัก 3 ประการที่ผลักดันให้ราคาทองคําสูงขึ้น

นักวิเคราะห์จีนคาดว่า ในขณะที่ความเสี่ยงของหนี้สาธารณะในสหรัฐอเมริกาและประเทศเศรษฐกิจอื่น ๆ ยังคงเพิ่มขึ้น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การลดลงของเครดิตในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจทั่วโลกจะทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ยังคงจะเพิ่มการสำรองทองคําต่อไป เพื่อเสริมความยืดหยุ่นของระบบการเงิน

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 14 มิถุนายน 2567  18:14:59 เข้าชม : 1975688 ครั้ง

Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธี วางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ หอประชุม ศาลากล … …