Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ : สิ่งที่เรียก “กำลังการผลิตจีน ล้นเกิน” เป็นการจงใจกุข่าว

บทวิเคราะห์ : สิ่งที่เรียก “กำลังการผลิตจีน ล้นเกิน” เป็นการจงใจกุข่าว

2 second read
0
0
229

ต่อกรณีที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักการเมือง และสื่อมวลชนในประเทศตะวันตก บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่สิ่งที่เรียกว่า “กำลังการผลิตจีนล้นเกิน” บ่อยครั้งนั้น นักสังเกตการณ์ ชี้ว่า ปรากฏการณ์นี้ เป็นการจงใจกุข่าวทั้งสิ้น เหตุผลก็คือ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ของจีน ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ในประเทศตะวันตกนับวันร้อนใจ และกังวลมากขึ้นว่า จะไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ ส่วนจุดประสงค์การกุข่าว ก็เพื่อใส่ร้ายป้ายสีจีน ว่า ”กำลังการผลิตส่วนเกินส่งผลกระทบทั่วโลก” อันเป็นการบิดเบือน และทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่าง จีน กับ ทั่วโลก เสื่อมเสีย ทำลายอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบของจีน ขัดขวางการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมจีน และพิทักษ์การผูกขาดของประเทศตะวันตกในห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทาน และระบบเศรษฐกิจโลก ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา

ในความเป็นจริง ไม่ว่าพิจารณาในแง่ของหลักการระบบเศรษฐกิจ แบบตลาด การแบ่งงานทั่วโลก และตลาดระหว่างประเทศ ล้วนไม่มีปัญหาเรื่อง “กำลังการผลิตของจีนล้นเกิน” แต่อย่างใด

การตัดสินว่า มีกำลังการผลิตล้นเกินหรือไม่นั้นควรพิจารณาจากความต้องการของตลาดโลกและศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต ความสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทาน มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเชิงเปรียบเทียบ และความไม่สมดุลมักเป็นเรื่องปกติ ความไม่สมดุลประเภทนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเศรษฐกิจ ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจ แบบตลาด และเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตก อื่น ๆ หากพิจารณาในแง่อุปสงค์ และอุปทานของตลาดโลก ถ้าขนาดของตลาดยังคงขยายตัวต่อไป และมีการกระตุ้นศักยภาพอย่างเต็มที่ “กำลังการผลิตส่วนเกิน”ก็จะไม่ดำรงอยู่อีกต่อไปและอาจกลายเป็นการขาดแคลนด้วยซ้ำ ในแง่นี้ วิธีแก้ปัญหายังคงขึ้นอยู่กับการปรับตัวของตลาด ตามกฎของมูลค่า จีน เป็นตลาดเปิดที่หลอมรวมอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ การจัดสรรทรัพยากรของวิสาหกิจจีน ไม่เพียงคำนึงถึงภายในประเทศ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่างประเทศด้วย นี่คือ แนวโน้มตามธรรมชาติของบริษัทสากล หากกำลังการผลิตเกินความต้องการในประเทศจึงเรียกได้ว่า “กำลังการผลิตล้นเกิน” ก็เท่ากับเป็นการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้วย “กำลังการผลิตส่วนเกิน” ซึ่งไม่เป็นไปตามตรรกะของเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน

มุมมองของทั่วโลกในปัจจุบัน กำลังการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มีส่วนเกิน แต่เป็นการขาดแคลนอย่างหนัก ตามการประมาณการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ความต้องการรถยนต์พลังงานใหม่ของทั่วโลก จะสูงถึง 45 ล้านคัน ในปี 2030 ซึ่งมากกว่า ปี 2022 ถึงสามเท่า ความต้องการทั่วโลกต่อกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ใหม่จะสูงถึง 820 กิกะวัตต์ซึ่งมากกว่าปี 2022 ประมาณสามเท่า จึงถือได้ว่า กำลังการผลิตในปัจจุบัน ยังห่างไกลจากความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีศักยภาพ ความต้องการผลิตภัณฑ์พลังงานใหม่มหาศาล การที่จีนในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สีเขียวที่สําคัญของโลก ยังคงดําเนินกิจกรรมการผลิตต่อไป นั้น สอดคล้องกับกฎแห่งระบบเศรษฐกิจ แบบตลาด ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า ภายใน 5 ปี ข้างหน้า ทั่วโลกต้องการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน จำนวนมาก เพื่อให้ทันกับพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงปารีส ในการรับมือกับภาวะโลกร้อน จีน ไม่เพียงแต่ต้องตอบสนองความต้องการ ภายในประเทศ และส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอน เท่านั้น แต่ยังต้องมีส่วนสนับสนุนการรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั่วโลก และการบรรลุการพัฒนาสีเขียว อีกด้วย การยับยั้งอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ ด้วยลัทธิกีดกันทางการค้านั้น ย่อมจะทำให้ความสามารถของประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอ่อนแอลงอย่างไม่ต้องสงสัย

หากพิจารณาจากดัชนีชี้วัดสำคัญที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันก็ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าจีนมี “กำลังการผลิตล้นเกิน” ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของจีนเพิ่มขึ้น ราคาก็สูงขึ้นเช่นกัน ราคาขายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ชั้นนำของจีนในยุโรปเฉลี่ยแล้วประมาณสองเท่าของราคาในจีน นี่แสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีที่เรียกว่า “การทุ่มตลาด” ของประเทศตะวันตกนั้น ไร้เหตุผล อีกด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการของตลาดกำลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันจีนยังเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสัดส่วนการส่งออกต่อการผลิตยังต่ำกว่าประเทศ ผู้ผลิตรถยนต์ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้อย่างมาก

ความได้เปรียบ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ของจีน มีรากฐานมาจากความได้เปรียบทางการตลาดขนาดใหญ่พิเศษของจีน ระบบอุตสาหกรรมที่ครบครัน และทรัพยากรมนุษย์ที่อุดมสมบูรณ์ ความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของจีนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอุดหนุนของรัฐบาล ตามที่ชาติตะวันตกกล่าวหา แต่ขึ้นอยู่กับการยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัย และพัฒนาของจีน การสนับสนุนของห่วงโซ่อุตสาหกรรม และห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ ควบคู่ไปกับตลาดขนาดใหญ่มหึมาของจีน ปัจจัยที่ประเทศอื่น ไม่สามารถเทียบชั้นได้กับจีน ดังกล่าวนี้ ประกอบขึ้นเป็นความได้เปรียบด้านกำลังการผลิตของจีน ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึงรถยนต์พลังงานใหม่นั้น สหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตกบางประเทศ ยืนกรานในแนวคิด ผลรวมเป็นศูนย์ ละเมิดกฎเศรษฐกิจในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม และจงใจขัดขวางการจัดสรรทรัพยากรทั่วโลกอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสิ่งที่เรียกว่า “การกำจัดความเสี่ยง” และวิธีอื่น ๆ ทำให้การพัฒนาวิสาหกิจในท้องถิ่นของตนถูกขัดขวาง ซึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ทางการเมือง

เขียน โดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พฤหัสบดี  25 เมษายน  2567  12:40:59 เข้าชม : 1897533 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมพบปะผู้เข้าประชุม เชิงปฏิบัติการ “เสวนาแลกเปลี่ยน : หน้าต่างแห่งโอกาส พัฒนาทักษะ EF สู่เด็กต่งห่อ จ.ภูเก็ต

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567  ที่ผ่านมา นายเรวัต อารีรอบ … …