ปักกิ่ง, 15 ก.พ. (ซินหัว) — สำนักบริหารพลังงานแห่งชาติของจีน (NEA) เปิดเผย ว่า แหล่งกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญของจีน ในการสร้างระบบพลังงาน และไฟฟ้าแบบใหม่ ตลอดจนเป็นหนทางสำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสีเขียว และคาร์บอนต่ำของการผลิตพลังงาน และการบริโภค
นับตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) กำลังผลิตจากแหล่งกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ ที่มีการติดตั้งเพิ่มเติมในจีน ได้เอื้อต่อการลงทุนทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านหยวน (ราว 5 ล้านล้านบาท) ช่วยต่อยอดการขยายตัวของห่วงโซ่อุตสาหกรรม ต้นน้ำ และปลายน้ำ
เมื่อนับถึงสิ้นปี 2023 กำลังของแหล่งกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ ติดตั้งในจีนสะสม อยู่ที่ 31.39 กิกะวัตต์ โดยมีระยะการกักเก็บพลังงานเฉลี่ย 2.1 ชั่วโมง และหากนับเฉพาะปี 2023 กำลังของแหล่งกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ อยู่ที่ 22.6 กิกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 260 เมื่อเทียบปีต่อปี และคิดเป็นเกือบ 10 เท่า ของสิ้นปี 2020
ปี 2023 สำนักบริหารฯ ได้ส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดไฟฟ้า แบบครบวงจร ระดับชาติอย่างแข็งขัน โดยมีธุรกรรมในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ไฟฟ้าที่ซื้อขายผ่านตลาดระดับชาติ คิดเป็น ร้อยละ 61.4 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของจีน เพิ่มขึ้น 0.6 จุดจากปีก่อนหน้า
พานฮุ่ยหมิ่น เจ้าหน้าที่ของสำนักบริหารฯ ระบุ ว่า ปี 2023 จีนมีบทบาทถึงกว่าร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณ 510 กิกะวัตต์ ส่งผลให้จีนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพลังงานสะอาดทั่วโลก
นอกจากนี้ จีน ได้ส่งออกพลังงานลม และผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ปยังประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 200 แห่ง ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าการส่งออกสะสม มากกว่า 3.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.19 ล้านล้านบาท) และ 2.45 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.71 ล้านล้านบาท) ตามลำดับ
(เรียบเรียง โดย Yu Huichen จาก Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/419107_20240216 , https://en.imsilkroad.com/p/338626.html)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ เสาร์ 17 กุมภาพันธ์ 2567 15:43:59 เข้าชม 1895796 ครั้ง