Home ข่าวเด่น ดิจิทัล ‘โครงการแปลงสายส่งไฟฟ้า เป็นกระแสตรง’ ช่วยแก้ปัญหา-พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า ในเจียงซู

‘โครงการแปลงสายส่งไฟฟ้า เป็นกระแสตรง’ ช่วยแก้ปัญหา-พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า ในเจียงซู

17 second read
0
0
122

ปักกิ่ง, 14 พ.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ โครงการส่งไฟฟ้ากระแสตรงหยางโจว-เจิ้นเจียง ได้เริ่มให้บริการในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน โดยเป็นโครงการแรกในจีน ที่เป็นโครงการแปลงสายส่งไฟฟ้ากระแสสลับ ที่ใช้งานอยู่ให้เป็นสายส่งไฟฟ้ากระแสตรง

บริษัท สเตต กริด เจียงซู อิเล็กทริก พาวเวอร์ (State Grid Jiangsu Electric Power) ได้ยกระดับคุณภาพสายส่งไฟฟ้าระหว่างทั้งสองเมืองที่อยู่คนละฝั่งแม่น้ำ โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างหลักของเสาส่งไฟฟ้าข้ามแม่น้ำแยงซี เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งไฟฟ้าของโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่

เฉินซงเทา ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน และจัดการร่วมกับแผนกก่อสร้างของบริษัทฯ ระบุ ว่า โครงการนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ที่มีประชากรจำนวนมาก แต่มีพื้นที่ในการก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าใหม่ อย่างจำกัด เนื่องจากเทคโนโลยีการแปลงการส่งไฟฟ้าจากกระแสสลับ เป็นกระแสตรงที่เกี่ยวข้อง นั้น สามารถแก้ปัญหาการส่งไฟฟ้าทางไกลระหว่างโครงข่ายไฟฟ้าในระดับภูมิภาค และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก

ปัจจุบัน การส่งไฟฟ้าจากตอนเหนือไปยังตอนใต้ของเจียงซู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโครงการผลิตไฟฟ้าใหม่ๆ กระจายอยู่ทั่วไปนั้น อาศัยเส้นทางส่งไฟฟ้าข้ามแม่น้ำแยงซี 6 เส้นทาง แต่ความต้องการส่งไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และการคุ้มครองระบบนิเวศตามแนวแม่น้ำแยงซีที่เข้มงวดมากขึ้นส่งผลให้โอกาสการสร้างเส้นทางใหม่ๆ นั้นมีน้อยลง ขณะที่ปัจจุบัน การพัฒนาความสามารถในการส่งไฟฟ้าของเส้นทางที่ใช้งานอยู่ก็มีความจำเป็นมากขึ้น

เฉิน ระบุ ว่า  หากเทียบกับสายส่งไฟฟ้ากระแสสลับแล้ว สายส่งไฟฟ้ากระแสตรงที่มีแรงดันไฟฟ้าเท่ากันจะมีกำลังการส่งไฟฟ้ามากกว่า และเกิดการสูญเสียระหว่างส่งไฟฟ้า น้อยกว่า ขณะที่การแปลงจากไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นกระแสตรงนั้น ช่วยให้สายส่งไฟฟ้าหยางโจว-เจิ้นเจียง ในปัจจุบันมีความสามารถในการส่งไฟฟ้าอยู่ที่ 1.2 ล้านกิโลวัตต์

นอกจากการขยายกำลังการผลิตแล้ว การแปลงสายส่งไฟฟ้าจากกระแสสลับ เป็นกระแสตรง ยังมีข้อดีหลายประการ เช่น เสถียรภาพและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่สูง โดย เฉิน เสริมว่า ส่วนที่ข้ามแม่น้ำแยงซีนั้น ระยะเวลาการก่อสร้างสั้นกว่าการสร้างสายส่งใหม่ราว 5-6 เดือน ขณะที่การลงทุนที่เกี่ยวข้องลดลงเกือบ 60 ล้านหยวน (ราว 312 ล้านบาท)

บริษัทฯ ยังใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะ เพื่อให้บรรลุการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพบว่า มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบดั้งเดิม โดยสวีหวยอวี้ รองประธาน วิศวกรของโครงการ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาทางแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรม สำหรับการเปลี่ยนสายส่งทางไกลและความสำเร็จด้านนวัตกรรม 9 รายการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง

หลังจากเสร็จสิ้นโครงการระยะที่ 2 และ 3 แล้ว คาดว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจะสูงถึง 3.6 ล้านกิโลวัตต์ และยังตอบสนองความต้องการการส่งพลังงานไฟฟ้าในเจียงซูอีกด้วย

(เรียบเรียง โดย Duan Jing, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/436096_20240514 , https://en.imsilkroad.com/p/339979.html)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ  15  พฤษภาคม  2567  22:18:59  เข้าชม : 1698352 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด โครงการค่ายเยาวชน เพื่อการให้ “TAKE LESS, GIVE MORE”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยป้องกั … …