Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ ไทยเบฟ เปิดกลยุทธ์ความยั่งยืนทุกมิติ ตอกย้ำ องค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืน ระดับโลก

ไทยเบฟ เปิดกลยุทธ์ความยั่งยืนทุกมิติ ตอกย้ำ องค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืน ระดับโลก

54 second read
0
0
176

ไทยเบฟ เปิดกลยุทธ์ความยั่งยืนทุกมิติ ตอกย้ำ องค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืน ระดับโลก

 สาระสำคัญ

  • โชว์วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการด้านความยั่งยืน
  • กลยุทธ์ “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) กับเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า
  • แนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน 3 ระดับภายในองค์กร ความร่วมมือกับพันธมิตร การสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ
  • โครงการที่ประสบความสำเร็จ สมุยโมเดล และแผนในการจัดทำโครงการต่อเนื่องบนเกาะสีชัง และเกาะอื่น ๆ
  • ครองคะแนนสูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลกจากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ประจำปี 2023 เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
  • ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นปีที่ 6 ด้วยคะแนน 91 จาก 100
  • ได้รับคะแนนประเมินด้านความยั่งยืน S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) สูงสุดระดับ 1% ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  • ได้คะแนนสูงสุดในมิติการกำกับดูแลและเศรษฐกิจกับมิติสังคม และได้อันดับ 2 ในมิติสิ่งแวดล้อม
  • ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets Index) เป็นปีที่ 7 และ 8 ติดต่อกันตามลำดับ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “บริษัท”)  ตอกย้ำองค์กรต้นแบบด้าน ความยั่งยืนระดับโลก ที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนด้วยกลยุทธ์สำคัญด้าน ESG “สรรสร้างการเติบโตที่ยังยืน” (Enabling Sustainable Growth)   กับเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยมี กลยุทธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน 3 ระดับ คือ ภายในองค์กร ความร่วมมือกับพันธมิตร และการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ มุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรง “สืบสาน รักษา และต่อยอดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ในฐานะบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเบฟ ได้ใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม มายาวนาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทางตรงในขอบเขตที่ 1 และทางอ้อมในขอบเขตที่ 2 (Scope 1และ 2) ภายในปี 2583 การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ การลดอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และการคืนน้ำสู่ธรรมชาติและสังคม (Water Replenishment) 100 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงเพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิล (rPET) ในขวดพลาสติก PET ในด้านของสังคม และธรรมาภิบาล มีการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มระดับความผูกพันของพนักงานให้มากกว่าหรือเท่ากับ 90% ภายในปี 2573 การเพิ่มสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเป็น 80% ภายในปี 2573 รวมถึงการกำหนดให้คู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์มีการจัดทำ และบังคับใช้จรรยาบรรณ สําหรับคู่ค้าของตนเอง

นอกจากนี้ ไทยเบฟ ร่วมมือกับพันธมิตร ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมกับองค์กรเอกชน อีก 8 องค์กร ก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) ขึ้นในปี 2562 โดยได้มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคู่ค้า เช่น การจัดสัมมนาในหัวข้อด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และการจัดอบรมการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกให้กับคู่ค้าที่เป็นสมาชิก

ในด้านความร่วมมือกับชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจรีไซเคิล จำกัด (Thai Beverage Recycle หรือ TBR) ร่วมมือกับเทศบาลท้องถิ่นและพันธมิตร ริเร่ม “โครงการสมุยโมเดล” ในปี 2562 โดยร่วมมือกับเทศบาลนครเกาะสมุยและร้านค้าของเก่าในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วหลังการบริโภค มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าและประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะบนเกาะ โดยใช้รถขนส่งเที่ยวกลับ (Backhaul Logistics) จากการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย ซึ่งมีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน และสามารถเก็บกลับขวดแก้วและเศษแก้วกลับมาได้เทียบเท่าหรือมากกว่าปริมาณผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ไทยเบฟจำหน่ายบนเกาะสมุย สร้างรายได้ให้กับผู้ค้าขวดเก่าในท้องถิ่นถึง 10 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการขยายผลโครงการสู่เกาะสีชัง โดยร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) และเทศบาลท้องถิ่น เริ่มดำเนินการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์จากเกาะสีชังในปี 2566 และยังมีแผนในขยายต่อไปยังเกาะอื่น ๆ ได้แก่ เกาะล้าน และเกาะเสม็ด

อีกหนึ่งโครงการหลัก ได้แก่ “ไทยเบฟ รวมใจต้านภัยหนาว” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 24 ได้แจกผ้าห่ม จำนวน 200,000 ผืนต่อปี ให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในด้านความยั่งยืน ไทยเบฟได้ใช้ rPET เพื่อผลิตผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลกต่อเนื่อง มาเป็นปีที่ 4 และนำขวดพลาสติก PET กลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล ผลิตเป็นผ้าห่มได้แล้ว ทั้งสิ้น 30,400,000 ขวด นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาได้ริเริ่มโครงการ “จากผู้รับ สู่ผู้ให้” เชิญชวนให้ชุมชนที่ได้รับแจกผ้าห่มนำขวดพลาสติก PET มาเพื่อนำไปผลิตผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก ส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับประสบภัยในปีถัดไป และโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อผ้าขาวม้า  สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการผลิต ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างรายได้ให้ชุมชน ปัจจุบัน มีชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือเข้าร่วมโครงการ 40 ชุมชน จาก 30 จังหวัด มีผู้ได้รับประโยชน์ 1,561 ราย สร้างรายได้รวมกว่า 235 ล้านบาท

ในด้านการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ ไทยเบฟ ยังเป็นผู้ริเริ่มและแกนหลักในการขับเคลื่อนการจัด  งาน Sustainability Expo (SX) ประจำปีภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ซึ่งจัดเป็นปีที่ 4  จากการผสานความร่วมมือของเครือข่ายที่เป็นองค์กรด้านความยั่งยืนจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เข้าร่วมกว่า 246 องค์กร ที่ประสบความสำเร็จและสร้างปรากฎการณ์แห่งการปลุกจิตสำนึกด้าน การพัฒนาที่ยั่งยืนมาแล้ว  นอกจากนี้ Win Win WAR Thailand เป็นรายการที่บ่มเพาะทักษะของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Entrepreneurs) โดยใช้กลไกด้านธุรกิจช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรายการนี้ได้จัดทำอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 มีจำนวนผู้ให้ความสนใจสมัครร่วมรายการกว่า 6,300 ทีม และใน 2 ปีที่ผ่านมา ยังได้ขยายผลไปสู่กลุ่มเยาวชนผ่านรายการ Win Win WAR OTOP Junior โดยเปิดโอกาส ให้นักเรียนอายุ 9-14 ปี พร้อมคุณครูที่ปรึกษา มาร่วมแข่งขันเพื่อเพิ่มทักษะการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยแนวคิดที่เอื้อประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับในต่างประเทศ ไทยเบฟก็เดินหน้าสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในประเทศเมียนมา เวียดนาม และสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน  และในส่วนของการกำกับดูแลนั้น ไทยเบฟได้ดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทย่อยทุกแห่งในทุกประเทศที่ไทยเบฟเข้าไปทำธุรกิจจะมีความเชี่ยวชาญเพียงพอ มีนโยบายที่สอดคล้อง และมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

ในปีที่ผ่านมา ไทยเบฟ ยังได้เข้าร่วมการรายงาน ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการรายงานด้านน้ำ (Water Security) ของ Carbon Disclosure Project หรือ CDP ซึ่งเป็นการรายงานด้าน Climate Change ที่ได้รับการยอบรับมากที่สุดทั่วโลก โดยได้รับคะแนนประเมินในระดับ A- ในทั้ง 2 หมวด จากผลการประเมินล่าสุด

ทั้งหมดนี้ คือการตอกย้ำการเป็นองค์กรต้นแบบความยั่งยืนระดับโลก มาอย่างต่อเนื่องด้วยการได้รับ คะแนน สูงสุด 91 คะแนนจาก 100 คะแนนในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลกจากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ประจำปี 2023 เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน พร้อมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets Index) เป็นปีที่ 7 และ 8 ติดต่อกันตามลำดับ และเป็นบริษัทเครื่องดื่มเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ในปี 2023

DJSI ได้ประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทที่เลือกมา โดยใช้เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) 30 ข้อ และในปีนี้ไทยเบฟได้รับคะแนนสูงสุดในมิติการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ รวมถึงมิติสังคม และได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับสองในมิติสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทยังได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนนจากเกณฑ์การประเมิน 6 ข้อ และอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 100 จากเกณฑ์ 13 ข้อ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเพื่อความยั่งยืนของบริษัท สามารถดูได้ที่ 2023 Sustainability Report ส่วนวิธีการประเมินของ DJSI สามารถดูได้ที่ 2023 MSA Methodology Guidebook

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ    พฤหัสบดี  29  กุมภาพันธ์  2567  11:53:59 เข้าชม  1697386 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด โครงการค่ายเยาวชน เพื่อการให้ “TAKE LESS, GIVE MORE”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567  ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยป้องกั … …