
จากการขับเคลื่อนรายบุคคลสู่พลังกลุ่ม : กรุงเทพมหานคร จะเป็นสถานที่จัดงานสัปดาห์ภูมิอากาศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 1
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 21 พฤษภาคม 2568 มาเริ่มนับถอยหลังไปด้วยกัน ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม 2568 กรุงเทพมหานคร จะมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยพลังแห่งการขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศ ด้วยความกล้าคิด และการสร้างสรรค์ร่วมกันของทุกคน เนื่องในโอกาสการเปิดตัวเทศกาล Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ณ เมืองหลวงที่มีถนนที่พลุกพล่าน ที่เต็มไปด้วยสตูดิโองานสร้างสรรค์ ห้องเรียน และหอประชุมในชุมชน โดยเทศกาลแห่งการรวมพลังนี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนในสังคมด้วยการเชิญชวนนักสร้างการเปลี่ยนแปลง นักสร้างสรรค์ และบุคคลทั่วไปจากทุกภาคส่วนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ ขณะนี้เราได้เปิดรับข้อเสนอกิจกรรมอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเปิดกว้างรับข้อเสนอรูปแบบโครงการที่หลากหลายไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบโครงการ กิจกรรม งานจัดแสดง หากคุณมีไอเดียที่จะจุดประกายการขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศ ขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา
เทศกาล Bangkok Climate Action Week 2025 (BKKCAW) ไม่ใช่แค่เทศกาลเกี่ยวกับภูมิอากาศหรือความยั่งยืนแบบที่ทุกคนคุ้นเคย แต่เป็นพื้นที่แห่งการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีชีวิตชีวา เปิดกว้าง และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเทศกาล BKKCAW จะเพิ่มทางเลือกในการสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศนอกเหนือจากเรื่องราวที่ได้ยินจากภาคธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ โดยหันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์จริงของผู้คน และนวัตกรรมจากรากหญ้า เพื่อระดมพลังจากชุมชนและผู้นำภาคประชาชน สู่แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านภูมิอากาศที่เข้มแข็งและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงบนพื้นฐานของความต้องการและบริบทเฉพาะของภูมิภาคนี้ ผู้จัดงานขอเชิญชวนบุคคลทั่วไป รวมถึงเยาวชนผู้ขับเคลื่อนสังคม นักจัดการชุมชน ศิลปิน ครู ผู้ประกอบการ นักวางผังเมือง นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักนวัตกรรมธุรกิจ และนักเล่าเรื่อง มาร่วมกันสร้างจินตนาการใหม่ในการทำงานขับเคลื่อนด้านภูมิอากาศ ผ่านมุมมองทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และชุมชน
BKKCAW เปิดรับข้อเสนอการจัดกิจกรรมทุกสเกล และรูปแบบ ไม่ว่า จะเป็นกิจกรรมที่จัดตามท้องถนน ไปจนถึงงานจัดแสดงสาธารณะ ที่จะจุดประกายจินตนาการ ขยายฐานการมีส่วนร่วม และร่วมกันกำหนดทิศทางการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม สู่อนาคตที่ปลอดภัยจากวิกฤตภูมิอากาศ
ประเด็นหลักประจำปี 2568
ประเด็นหลักประจำปีนี้ คือ “ โลกร้อน เรารุก โลกลุก เราเปลี่ยน” (Living the Impacts, Leading the Change) โดยเน้นย้ำบทบาทของผู้คนในฐานะกลไกสำคัญของเรื่องราวด้านสภาพภูมิอากาศ
Bangkok Climate Action Week 2025 มุ่งเน้น ที่การตอบสนองของผู้คนจากทุกภาคส่วน ต่อความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน แทนการมุ่งเน้นนโยบายที่เป็นนามธรรม หรือที่ห่างไกลกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ไม่ว่า จะเป็นประเด็นเรื่องคลื่นความร้อนและน้ำท่วม ไปจนถึงการสูญเสียแหล่งทำกิน และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น และการลงมือสำรวจว่าพวกเขาจะรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างไร
โดยตลอดทั้งสัปดาห์ของการจัดงาน จะมีการเน้นย้ำบทบาทของผู้นำระดับรากหญ้า การเสนอการแก้ปัญหาจากท้องถิ่น และความเข้มแข็งของชุมชน โดยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตภูมิอากาศ ก็คือ ผู้ที่กำลังเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นการเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันยกย่อง “ฮีโร่ด้านภูมิอากาศ” ในชีวิตประจำวันของเรา และส่งเสียงของภูมิภาคในขบวนการด้านภูมิอากาศระดับโลกให้ดังขึ้น “ โลกร้อน เรารุก โลกลุก เราเปลี่ยน” จึงถือเป็นประเด็นหลักของเทศกาลที่เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองใหม่ จากการมองผู้คนในฐานะเหยื่อที่ไร้ทางเลือก ให้อยู่ในฐานะผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง และยังยอมรับคุณค่าในบทบาทเฉพาะตัวของภูมิภาค นี้ ในการเผชิญ และแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ อีกด้วย
เทศกาล นี้ มีอะไรบ้าง
BKKCAW ได้สร้างพื้นที่ สำหรับการแลกเปลี่ยนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนด้วยความห่วงใย และการเรียนรู้ร่วมกันของผู้คน และด้วยกระบวนการนี้เอง เทศกาลนี้ จึงมีบทบาทในการเปลี่ยนความกล้าคิด ให้กลายเป็นการลงมือทำร่วมกัน และเปลี่ยนการลงมือทำร่วมกันให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง
เทศกาลครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัฒนธรรมที่จัดนิทรรศการ และกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ โดยใช้พลังของศิลปะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการขับเคลื่อนด้านภูมิอากาศ และในขณะเดียวกันยังมีโครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia: CASE) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(ทีดีอาร์ไอ) ที่กำลังพัฒนาประสบการณ์เสมือนจริง (immersive experience) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาดให้เข้าถึงผู้คนในวงกว้าง โดยเน้นนวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเปลี่ยนผ่านพลังงานของประเทศไทย
“เทศกาลด้านสภาพภูมิอากาศ Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) เป็นมากกว่าแค่งานเทศกาล แต่เป็นพื้นที่สำหรับจินตนาการที่หลากหลายมารวมกัน การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ ทำให้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้สร้างความแตกต่างข้ามกรอบกำแพงงานศิลปะ ได้เชื่อมโยงเรื่องราวด้านสภาพภูมิอากาศกับชีวิตประจำวัน ผ่านมุมมองด้านศิลปะ” อดุลญา (คิม) ฮุนตระกูล ผู้อำนวยการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าว
“ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ตนเห็นถึงความสนใจจากนานาประเทศต่อประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงเพราะบทบาททางวัฒนธรรม แต่เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่น และศักยภาพในการรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ ที่ฝังแน่นในชุมชนของเรา ในขณะที่ความเสมอภาคด้านทรัพยากรระหว่างคนสองรุ่นได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศ เทศกาล Bangkok Climate Action Week 2025 ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของการสร้างเวทีที่ให้ความเคารพภาวะผู้นำจากท้องถิ่น รวมทั้งขยายพลังการแก้ปัญหาในระดับรากหญ้า และส่งเสริมการสนทนาเชิงสร้างสรรค์ระหว่างรุ่น ระหว่างผู้คนในสังคม โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมเป็นแกนหลัก โดย ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ล้วนเป็นแหล่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับการธำรงรักษาโดยชุมชนท้องถิ่น ในฐานะสมาชิกของคณะผู้แทนไทยในการประชุม UNFCCC ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่า ทางออกด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้ผลจริง จะต้องไม่เกิดขึ้นแค่ในห้องเจรจา แต่ต้องถูกหล่อหลอมขึ้นในชุมชน ละแวกบ้าน ไร่นา ในผืนป่า และในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมอีกด้วย ดังนั้นเทศกาล Bangkok Climate Action Week จึงถือเป็นการแสดงถึงการยอมรับคุณค่าจากองค์ความรู้ท้องถิ่น การดูแลกันและกัน และพลังของบทสนทนาแบบมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงคนต่างวัย ต่างภูมิภาค และต่างประสบการณ์เข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ งานนี้ อาจจะเกิดขึ้นช้าเกินไปด้วยซ้ำ” กมลจันทร์ โอสถานนท์ , ตัวแทนนักเจรจาเยาชนด้านสภาพภูมิอากาศ , คณะผู้แทนประเทศไทยสู่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ท่านจะมีส่วนร่วมกับเทศกาล Bangkok Climate Action Week 2025 ได้อย่างไร
เทศกาล Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) เปิดรับข้อเสนอการจัดกิจกรรมทุกสเกล และรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบออนไซต์หรือออนไลน์ รวมถึงกิจกรรมที่จัดในพื้นที่สาธารณะหรือในวงปิด หรือกิจกรรมที่มีรูปแบบผสมผสาน โดยกิจกรรมอาจครอบคลุมรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตลาดชุมชน การแสดงของเยาวชน โครงการศิลปะในโรงเรียน การวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในที่สาธารณะ วงเล่าเรื่อง หรือจะเป็นเวิร์กชอปว่าด้วยความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศก็ได้ คณะผู้จัดงานยินดีต้อนรับข้อเสนอกิจกรรมทุกรูปแบบทั้งกิจกรรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม
หากว่า คุณมีไอเดียสำหรับจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ หรือมีพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมได้ก็ตาม เราขอเชิญชวนให้คุณเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลอย่างเต็มที่ เรายินดีต้อนรับข้อเสนอกิจกรรมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมที่สะท้อนความหลากหลายของภูมิภาค เน้นความเป็นอยู่ในชีวิตจริงของผู้คนในแต่ละวัน และสอดคล้องกับประเด็นหลักของปีนี้คือ “ โลกร้อน เรารุก โลกลุก เราเปลี่ยน”
หากต้องการเข้าร่วมกิจกรรม เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา ได้ที่ https://www.bangkokclimateactionweek.org/get-involved จากนั้นเลือกหัวข้อ “Submit an event” (ส่งข้อเสนอกิจกรรม) และ “Offer a venue” (เสนอพื้นที่จัดงาน) เพื่อกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มใบสมัคร
กรุณากรอกแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน และละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยผู้จัดกิจกรรมจะต้องรับผิดชอบด้านการจัดงานและโลจิสติกส์ด้วยตนเอง โดยผู้จัดงานจะให้การสนับสนุนท่านด้านการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่นำเสนอเข้ามา จะได้รับการพิจารณา และอนุมัติ โดย คณะผู้จัดงาน BKKCAW ร่วมกับ คณะกรรมการขับเคลื่อนดำเนินงาน (Steering Committee) ก่อนที่จะประกาศการจัดงานบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ หากผู้จัดงานต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเสนอกิจกรรมของคุณ เราจะติดต่อกลับไปยังผู้เสนอกิจกรรมโดยตรง
เปิดรับใบสมัครตั้งแต่ วันนี้ ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2025
เกี่ยวกับเรา
จัสท์ ทรานสิชั่นส์ อินคิวเบเตอร์ (จุติ) คือ องค์กรที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คน ชุมชน และพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสู่อนาคตที่เป็นธรรม และปลอดภัยต่อสภาพภูมิอากาศ ด้วยความเชื่อในพลังของความเข้าใจ การลงมือทำอย่างสร้างสรรค์ และความซื่อตรงจุติร่วมบ่มเพาะแนวคิด และการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ไม่เพียงท้าทายกรอบเดิมของสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ยังให้คุณค่ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมพลังให้ผู้คน และฟื้นฟูโลกของเรา เพื่อร่วมกันสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่า สำหรับทุกคน
กรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ หน่วยงานปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเมือง การให้บริการสาธารณะ และการดูแลโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ เช่น การขนส่ง การศึกษา สาธารณสุข การวางผังเมือง และการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเป็นผู้นำ กทม. มีบทบาทสำคัญในการบริหารการพัฒนา และการดำเนินงานในแต่ละวันของหนึ่งในเมืองใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 21 พฤษภาคม 2568 17:21:59 เข้าชม : 1598733 ครั้ง