
เมื่อ 80 ปีก่อน หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาคมระหว่างประเทศ ได้ร่วมลงนาม ใน “กฎบัตรสหประชาชาติ” ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ นับเป็นความพยายามในการเปิดศักราชความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติ แบ่งออกเป็น 19 หมวด รวม 111 มาตรา สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันไม่ให้มนุษยชาติ ต้องเผชิญภัยสงคราม อีก กฎบัตรกำหนดวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ อันได้แก่ “ธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ” “หยุดยั้งการรุกราน” “พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของประชาชน ทุกประเทศ” “ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ” ฯลฯ นอกจากนี้ กฎบัตรยังกำหนดด้วยว่าสหประชาชาติและประเทศสมาชิก จะต้องยึดมั่นตามหลักการความเสมอภาคทางอธิปไตยของทุกประเทศ ทุกประเทศแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธี และไม่ใช้กำลังอาวุธหรือการคุกคามด้วยกำลังอาวุธในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงสหประชาชาติ จะต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของทุกประเทศ เป็นต้น
กฎบัตรสหประชาชาติ ได้วางรากฐานของระเบียบระหว่างประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งกำเนิดระบบต่างๆของลัทธิพหุภาคี ระบบระหว่างประเทศที่ถือสหประชาชาติเป็นแกนหลัก และบรรทัดฐานที่เป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ยึดตามวัตถุประสงค์ และหลักการของกฏบัตรสหประชาชาตินั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั่วโลก ยังคงเผชิญกับความขัดแย้งบ่อยครั้ง ความไม่เท่าเทียม และความไม่เป็นธรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ในหลายมิติ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความล้าสมัยของกฎบัตรสหประชาชาติ แต่เกิดจากการที่หลักการของกฎบัตรไม่ได้รับการปฏิบัติตามอย่างทั่วถึง มหาอำนาจบางประเทศ ไม่เพียงไม่ปกป้องกฎบัตร เท่านั้น แต่ยังกลับดำเนินลัทธิการครองความเป็นเจ้า และลัทธิฝ่ายเดียวอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ด้วย ซึ่งได้บั่นทอนความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของกฎบัตรสหประชาชาติ
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การรักษาหลักการพื้นฐานของกฎบัตร จึงกลายเป็นภารกิจเร่งด่วนของประชาคมโลก ในการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยจีนในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ใช้ความพยายามด้วยความทรหดอดทนอย่างต่อเนื่อง
บนหนทางที่ยากลำบากในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคง จีน กลายเป็นผู้ปฏิบัติที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่สุด ในการยึด “แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ” ด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม กองกำลังรักษาสันติภาพของจีน ได้ปฏิบัติภารกิจในหลายพื้นที่ความขัดแย้งทั่วโลก ตลอดกระบวนการรักษาสันติภาพที่ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี จีนได้ส่งกำลังพล กว่า 50,000 นาย และมีทหาร 16 นายที่เสียชีวิตในภารกิจเพื่อสันติภาพ นอกจากนี้ ในด้านการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยวิถีทางการเมือง จีนยึดหลัก “ส่งเสริมการเจรจา-ยุติการสู้รบ” มาโดยตลอด และในที่ประชุมด่วนที่คณะมนตรีความมั่นคงจัดขึ้น อย่างเปิดเผย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้แทนถาวรของจีนประจำสหประชาชาติได้ประณามอย่างรุนแรงต่อพฤติกรรมของอิสราเอล และสหรัฐอเมริกา ที่ใช้กำลังอาวุธต่ออิหร่านโดยอ้าง “ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” ซึ่งละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง
ในด้านการปกป้องลัทธิพหุภาคี และการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลก ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งนั้น จีนในฐานะผู้พิทักษ์ “ลัทธิพหุภาคี” อย่างแน่วแน่ ได้มีบทบาทในการเสริมสร้างเสถียรภาพให้กับระเบียบระหว่างประเทศมาโดยตลอด ในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา จีนได้เสนอแนวคิดริเริ่ม ข้อเสนอและแนวทางใหม่สำหรับการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และการตอบรับอย่างกระตือรือร้นจากประชาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่การเสนอแนวคิดว่าด้วยการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ไปจนถึงข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงโลก และข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมโลก จีนได้ขยายความหมายของลัทธิพหุภาคีให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น ข้อริเริ่มว่าด้วยการร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หลักการร่วมปรึกษา ร่วมสร้าง และร่วมแบ่งปัน และแนวคิด “ขจัดความยากจนอย่างตรงจุดอย่างมีเป้าหมาย” เป็นต้น ล้วนถูกบรรจุไว้ในเอกสารขององค์การสหประชาชาติหลายครั้ง ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ สอดคล้องอย่างลึกซึ้งกับวัตถุประสงค์ของกฎบัตรสหประชาชาติ ในการ “ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ” และได้นำเสนอภูมิปัญญาจีน ในการผลักดันการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลก และส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาของทั่วโลก
จีน เป็นประเทศที่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ อย่างจริงจัง และเดินอยู่แถวหน้าเสมอ ปัจจุบัน จีน ได้เข้าร่วมองค์การรระหว่างประเทศระหว่างรัฐบาลเกือบทั้งหมด รวมถึงเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศและฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มากกว่า 600 ฉบับ และสนับสนุนสหประชาชาติ ในการแสดงบทบาทสำคัญในกิจการระหว่างประเทศ มาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการ สหประชาชาติ จึงกล่าวว่า จีน ได้ให้การสนับสนุนอย่างมั่นคง และเข้มแข็งต่อภารกิจของสหประชาชาติ มาโดยตลอด เป็นเสาหลักสำคัญในการปกป้องลัทธิพหุภาคี และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 16 กรกฎาคม 2568 16:24:59 เข้าชม : 1896558 ครั้ง
ใบเทรก ตรวจล็อตเตอรี่