Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ สหรัฐอเมริกา เสียเปรียบ เพราะขาดดุลการค้าจริงหรือ ?

บทวิเคราะห์ สหรัฐอเมริกา เสียเปรียบ เพราะขาดดุลการค้าจริงหรือ ?

3 second read
0
0
121

วันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา การเจรจาการค้าระหว่างจีน และสหรัฐอเมริกา ที่ กรุงเจนีวาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ได้บรรลุข้อตกลงสำคัญ และในวันที่ 14 พฤษภาคม ทั้งสองฝ่ายได้ปรับลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงอย่างมาก ความคืบหน้าครั้งสำคัญนี้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อจีน และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย ประชาคมระหว่างประเทศจึงได้แสดงความยินดีและชื่นชมอย่างกว้างขวาง

ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้ง ว่า การยึดมั่นในแนวคิดการค้าเสรี และการรักษาระบบการค้าพหุภาคี เท่านั้น จึงจะสามารถสร้างความแน่นนอน และเสถียรภาพให้แก่การพัฒนาของทั่วโลกได้

นับตั้งแต่ต้นปีนี้ รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเก็บหรือขู่จะเก็บภาษีศุลกากรในวงกว้างต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยให้เหตุผลว่า “สหรัฐอเมริกามีปัญหาขาดดุลการค้าสินค้าเป็นเวลานาน” และ “ต้องการให้อุตสาหกรรมการผลิตกลับคืนสู่ประเทศ”

แต่สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบจากการขาดดุลการค้าจริงหรือ ? ความจริง คือ การขาดดุลการค้าไม่เพียงไม่ ทำให้สหรัฐอเมริกา เสียเปรียบ หรือได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้ามกลับทำให้สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์มหาศาลมาโดยตลอด เหตุพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาเป็นหลักในการออกระเบียบเศรษฐกิจโลกและระบบการค้าพหุภาคี ทั้งยังเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากระบบเหล่านี้ เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ และการค้าเสรีทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำได้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้บริษัทอเมริกันสามารถจัดสรรทรัพยากรทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งช่วยให้ประชาชนอเมริกันทั่วไปสามารถบริโภคสินค้าจากทั้วโลก ที่มีคุณภาพดีในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกยังได้มอบ “อภิสิทธิ์เกินควร” ให้แก่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ส่วนความพยายามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่จะผลักดันให้ภาคการผลิตกลับคืนประเทศด้วยมาตรการเชิงบังคับนั้น ก็ถูกมองกันโดยทั่วไปว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการสร้างงานให้ประชาชนอเมริกัน และยากที่ประสบความสำเร็จได้ แม้สหรัฐอเมริกาจะต้องการสร้างงานให้กับประชาชนบางกลุ่มที่ระดับชีวิตแทบไม่ดีขึ้น ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากการที่ภาคการผลิตถูกย้ายไปต่างประเทศ แต่เกิดจากการที่สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยกลุ่มคนร่ำรวย ซึ่งผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดได้ไหลเข้าสู่ชนชั้นเศรษฐี นอกจากนี้ ภาคการผลิตต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางอุตสาหกรรมที่ครบวงจร แต่ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาขาดความพร้อมในหลากหลายด้านแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ว่า แก่นของแรงจูงใจที่ทำให้สหรัฐอเมริกา จุดชนวนสงครามการค้า คือ การรักษาอำนาจการครองโลกของตนเอง แต่นโยบายที่ใช้นั้นตั้งอยู่บนการประเมินศักยภาพของจีน ผิดพลาด ประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจตนเองสูงเกินจริง และการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ภายในระยะสั้น หากสหรัฐอเมริกา ยังคงยืนกรานที่จะดำเนินสงครามการค้าต่อไป ในระยะยาวจะทำให้ประเทศตกอยู่ในวงจรเลวร้ายอันได้แก่ “ลัทธิกีดกัน – ต้นทุนสูงขึ้น-ความสามารถในการแข่งขันลดลง” การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบกดขี่ เช่น การทำสงครามภาษี และการปิดกั้นทางเทคโนโลยี โดยยกผลประโยชน์ของตนเองเหนือผลประโยชน์ร่วมกันของนานาประเทศ ถือเป็น “การขับรถย้อนศรประวัติศาสตร์” และยิ่งจะเร่งทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ ลัทธิฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน เท่านั้น จึงเป็นหนทางเดียวแห่งการพัฒนา อย่างยั่งยืน สหรัฐอเมริกา ควรรับฟังเสียงคัดค้านจากประชาคมโลก และเสียงที่มีเหตุผลภายในประเทศ ยุติแนวทางที่ผิดพลาด และกลับคืนสู่แนวทางการค้าเสรี และความร่วมมือแบบวิน-วิน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เอง

เขียน โดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  พุธ  21  พฤษภาคม  2568  18:27:59 เข้าชม : 1687393 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

จีน พลิกโฉม การท่องเที่ยวยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยี AI

เทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในอุตสาหกรรมการท … …