Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ มุ่งบทวิเคราะห์ จีน มั่นสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

มุ่งบทวิเคราะห์ จีน มั่นสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

5 second read
0
0
221

เมื่อไม่นานมานี้ จีนได้จัด “การประชุมส่วนกลางว่าด้วยการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน” ที่กรุงปักกิ่ง โดยนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ย้ำต่อที่ประชุมว่า ต้อง “มุ่งเน้นการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน” สะท้อนถึงความจริงใจ และการให้ความสำคัญอย่างยิ่งของจีน ในการสร้างความไว้วางใจ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีกระดับ

หลังการประชุมไม่กี่วัน นายสี จิ้นผิงเดินทางเยือนเวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและมีความสำคัญยิ่ง การเยือนครั้งนี้ได้เปิดบทใหม่แห่งการร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันและร่วมกันก้าวสู่ความทันสมัยระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน

จีน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุดในโลก โดยมีพรมแดนติดต่อกับ 14 ประเทศ รวมระยะทางถึง 22,000 กิโลเมตร จีนตระหนักดีว่าสำหรับทุกประเทศแล้ว การมีสภาพแวดล้อมโดยรอบที่มั่นคงและปลอดภัยนั้นคือรากฐานสำคัญในการนำประเทศไปสู่การพัฒนาและเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อประโยชน์ของจีนเท่านั้น แต่ยังเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายและภูมิภาคโดยรวมอีกด้วย

โดยเฉพาะ ในช่วงกว่าสิบปี ที่ผ่านมา ภายใต้การนำของนายสี จิ้นผิง รัฐบาลจีน ได้พยายามสร้างความไว้วางใจทางการเมือง การหลอมรวมทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอแนวคิดด้านการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านที่เน้น “ใกล้ชิด จริงใจ เกื้อกูล และเปิดกว้าง”  ริเริ่มและขับเคลื่อนการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การชี้นำด้วย“การทูตประมุข” จีนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ดำเนินความร่วมมือในทุกมิติและเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนในทุกๆด้านให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ จนได้ก่อรูปขึ้นเป็นกรอบการทำงานเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นผลลัพธ์ ซึ่งผลักดันให้การดำเนินงานเกี่ยวกับประเทศรอบข้างของจีนประสบผลสำเร็จและเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์

ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในสาขาที่ให้ความสำคัญมากที่สุด ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน โครงการรถไฟจีน-ลาว ถือเป็นตัวอย่างโครงการเชิงสัญลักษณ์ เส้นทางรถไฟที่ทันสมัยสายนี้ เชื่อมเมืองคุนหมิงของจีนกับเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อปลายปี 2021 เป็นต้นมา ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดียิ่งต่อการขนส่งทั้งสินค้าและผู้โดยสาร อีกทั้งยังได้เปลี่ยนสถานะของลาวจาก “ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล” ให้กลายเป็น “ประเทศที่มีการเชื่อมโยงทางบก” ซึ่งได้ยกระดับการเชื่อมโยงของภูมิภาคและความสามารถในการดึงการลงทุนของลาว ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงก็ได้กลายเป็น “นามบัตรทอง” แห่งการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อย่างมีคุณภาพสูงระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย ซึ่งให้บริการผู้โดยสารไปแล้วกว่า 8 ล้านคน

ในด้านความมั่นคง จีนเน้นการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคผ่านการเจรจา และความร่วมมือ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นเวที จีนได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย ลาว เป็นต้น เพื่อรับมือกับอาชญากรรมข้ามพรมแดน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการตอบสนองต่อภัยพิบัติ ฯลฯ รวมถึงร่วมกันผลักดันการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคงที่มีการประสานงานและสร้างความไว้วางใจร่วมกันมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่แตกต่างจากแนวคิดการเผชิญหน้าที่เห็นได้ในบางภูมิภาคก็คือ จีนเสนอ “แนวคิดความมั่นคงเอเชีย” ที่เน้นสันติภาพ ความร่วมมือ ความเปิดกว้าง และการยอมรับความหลากหลาย โดยใช้การเจรจาอย่างเท่าเทียมในการจัดการข้อขัดแย้ง และพยายามสร้างฉันทามติด้านความมั่นคง แม้ในความเป็นจริงแนวคิดนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย แต่ก็ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นในหมู่ประเทศเอเชียอย่างต่อเนื่อง

การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมเป็นสายใยสำคัญของประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนสถาบันขงจื่อมากที่สุดในโลก การเรียนภาษาจีนได้รับความนิยมอย่างสูง ความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนได้ส่งมอบวัคซีน และอุปกรณ์ป้องกันโรคให้กับหลายประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ในการเป็นเพื่อนบ้านที่ “คอยเอาใจใส่และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” แสดงให้เห็นถึงความอบอุ่นและคุณค่าของแนวคิดประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันที่สะท้อนจากการปฏิบัติ

แน่นอนว่า การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจยังต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ เช่น การแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค และความแตกต่างทางวัฒนธรรม จีนจึงกำลังพยายามขยายความร่วมมือกับเพื่อนบ้านให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการทำให้เป็นรูปธรรมและเปิดกว้างยิ่งขึ้น เพื่อค้นหาหนทางที่ได้ชัยชนะด้วยกันซึ่งสามารถตอบโจทย์ทั้งการพัฒนาของตนเองและการสร้างประโยชน์ร่วมกับประเทศรอบข้าง

ในอนาคต ด้วยการผลักดันการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการปรับปรุงยกระดับกลไกความร่วมมือพหุภาคี ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านย่อมจะใกล้ชิดยิ่งขึ้น และภาพลักษณ์ของประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันก็จะชัดเจนมากขึ้น ในโลกที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น แนวคิดการบริหารภูมิภาคที่ใช้ความร่วมมือแทนการเผชิญหน้า และใช้แนวทางชนะร่วมกันแทนแนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์นั้น ย่อมมีความสำคัญต่อการปฏิบัติในวงกว้างและมีอนาคตที่กว้างไกลยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  ศุุกร์  25  เมษายน  2568  19:47:59 เข้าชม : 1895771 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

จีน นำ เสถียรภาพ และความแน่นอน มาสู่เศรษฐกิจโลก มากขึ้น

จีน นำ เสถียรภาพ และความแน่นอน มาสู่เศรษฐกิจโลก มากขึ้น … …