
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ เครือข่ายหน่วยงานวิจัยในจุฬาฯ จัด สัมมนาวิชาการ “AI เพื่อสังคม 2025 : ปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนอนาคตไทย” ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อจุดประกายความคิด และวางแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม ครอบคลุม และยั่งยืนในสังคมไทย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยไทย ในยุค AI เปลี่ยนโลก” โดยเน้นย้ำ ว่า “การศึกษาต้องไม่เพียงให้ความรู้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ต้องสร้างสำนึก และโครงสร้างสังคมใหม่ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในอนาคต AI อย่างเท่าเทียม”
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ
ในยุคที่ Generative AI แทรกซึมเข้าสู่ทุกมิติของชีวิต ตั้งแต่ระบบแรงงานไปจนถึงการศึกษา งานสัมมนาครั้งนี้ เน้นให้เห็นถึง “โอกาส” ที่เทคโนโลยีจะเพิ่มขีดความสามารถของสังคมไทย ในขณะเดียวกัน “ความเสี่ยง” ที่จะทวีความเหลื่อมล้ำ และทำให้ผู้คนบางกลุ่มถูกทิ้ง ไว้ข้างหลัง
การสัมมนาครั้งนี้ กล่าวรายงาน โดย รศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ หนึ่งในไฮไลต์ของงานคือ การนำเสนอผลการศึกษา “AI in Thai Society” โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ซึ่งเผยให้เห็น ว่า คนไทยจำนวนไม่น้อย ยังขาดความรู้เท่าทัน AI กลุ่มแรงงานระดับล่างมีโอกาสถูกแทนที่โดยเทคโนโลยี รวมทั้งการใช้ AI ในระบบการศึกษาอาจกระทบจริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
รศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา ยังได้สัมผัสนิทรรศการ AI แบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อเรียนรู้ ว่า “เราเป็น AI ประเภทใด” ผ่านแบบทดสอบสนุก ๆ ที่กระตุ้นให้แต่ละคน หันกลับมาทบทวนบทบาทของตนในโลก ที่เทคโนโลยีกำลังนิยามตัวตนของเรา
นอกจากนี้ ยังมีการเสวนา “Thailand Reimagined: When AI Designs the Future” โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคแรงงาน ภาคสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน ร่วมเสนอทางออกในการออกแบบนโยบาย ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การคุ้มครองสิทธิพลเมืองในยุคดิจิทัล และการป้องกันอคติที่ AI อาจผลิตซ้ำ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการใช้ AI อย่างสร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้มอบ 7 รางวัล
สำหรับผลงาน Generative AI โดดเด่น ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้นวัตกรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักวิจัย และผู้ประกอบการไทย งานสัมมนานี้ ไม่เพียงเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ AI เท่านั้น แต่ยังปลุกกระแสสังคมให้ตั้งคำถาม ว่า “เราจะอยู่ร่วมกับ AI อย่างไร ? ให้เป็นธรรม ครอบคลุม และมีจริยธรรม” รวมถึง “เราจะสร้างคนให้มีปัญญา เพื่อสร้างควบคุม และใช้เทคโนโลยีอย่าง AI อย่างเท่าทัน” ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันจุฬาฯ สู่ การเป็นมหาวิทยาลัยนำทางความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ในยุค AI
อ่านบทความฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/244872/
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : อาทิตย์ 6 กรกฎาคม 2568 10:43:59 เข้าชม : 1598733 ครั้ง