
วันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน และ การประชุมสุดยอดธุรกิจ และ การลงทุนจีน-อาเซียนลงที่เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี ในระยะเวลา 4 วัน วิสาหกิจ 1,653 ราย จาก 40 ประเทศ เดินทางมาร่วมงานแบบออนไซต์, ขณะที่วิสาหกิจ กว่า 2,000 แห่ง ร่วมงานออนไลน์ ลงนามโครงการความร่วมมือ 267 โครงการ ยอดการลงทุนอยู่ที่ 413,000 ล้าน หยวน สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยตัวเลขเหล่านี้ สะท้อนถึงผลสำเร็จแห่งงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งนี้
ในงานนี้ ภายใต้การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งนี้ มีอุปกรณ์อัจฉริยะ เครื่องใช้ไฟฟ้าพลังงานสีเขียว เทคโนโลยีแสงสว่างของจีน ต่างก็ได้รับความนิยมจากอาเซียน ส่วนอาหารเครื่องดื่ม ผลไม้เขตร้อน ของใช้ในครัวเรือน ก็มียอดการสั่งซื้อสูงจากผู้บริโภคในจีน แม้บางระบบของโลกกำลังสร้าง “สร้างกำแพงระบบเศรษฐกิจ” กีดกันทางการค้า แต่งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนกลับเต็มไปด้วยบรรยากาศเปิดกว้างสร้างโอกาสใหม่เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาวหลังสถานการณ์โควิด-19 และ สร้างสรรค์เศรษฐกิจส่วนภูมิภาคแบบเปิดกว้าง
ปีนี้ เป็นปีเริ่มต้นแห่งความสัมพันธ์หุ้นส่วน เชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน ระหว่างจีน-อาเซียน พร้อมกับเป็นปีแรกที่ RCEP มีผลบังคับใช้ การก่อสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน 3.0 จะเริ่มต้น ประเด็นหลักของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ปีนี้ คือ “ร่วมแบ่งปันโอกาสใหม่ของ RCEP ผลักดันเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเวอร์ชั่น 3.0” ก็เพื่อหนุนเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ก้าวขึ้นไปอีกขั้น
จากสถิติ พบว่า งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน 18 ครั้ง ที่ผ่านมา มีนักธุรกิจ 1,015,000 คน เดินทางเข้าร่วมงาน เป็นโอกาสอันดีของการเปิดบริการให้กับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และ การก่อสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน กลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ลงลึกความร่วมมือจีน-อาเซียน และ ผลักดันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเศรษฐกิจ ส่วนภูมิภาค ได้เพิ่มพลวัตใหม่ให้กับเศรษฐกิจภูมิภาคแบบเปิดกว้าง
ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ยอดการค้าจีน-อาเซียนสูงถึง 544, 900 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดการนำเข้าและส่งออกของจีน
สำหรับ จีน เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 13 ปี อาเซียนในฐานะคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน ได้รับการสนับสนุน
ส่วนประชากร จีดีพี ยอดการค้าของ RCEP คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของโลก แฝงไว้ด้วยศักยภาพการตลาด
RCEP ได้แบ่งปันผลประโยชน์จากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาเป็นความปรารถนาร่วมกันของวงการอุตสาหกรรม และ ธุรกิจของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ฉะนั้น งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งนี้ จัดกิจกรรม และ นิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับประเด็น RCEP เป็นพิเศษ ได้สร้างแพลตฟอร์มแห่งความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างกลมกลืนส่วนภูมิภาค RCEP
RCEP ได้ส่งเสริมความร่วมมือให้ลุ่มลึกระหว่างจีนกับอาเซียน โดยเฉพาะนโยบายที่เอื้อประโยชน์กัน อย่าง การลด และ ยกเว้นภาษีศุลกากร การเพิ่มประสิทธิภาพการข้ามพรมแดน การไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน ประกอบกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิก RCEP ก็ได้ขยายวงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งจีน และ อาเซียน ให้มากขึ้น
อย่างเช่น นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศไทย กล่าวในพิธีเปิดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งนี้ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ว่า การส่งเสริมความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน สร้างบรรยากาศการฟื้นฟูเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค เพิ่มความเหนียวแน่นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ไทยสนับสนุน RCEP อย่างรอบด้าน และ มีประสิทธิภาพ สนับสนุนสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่ยกระดับ สนับสนุนข้อริเริ่มเพื่อการพัฒนาของโลก หวังว่า กระชับความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เร่งการฟื้นฟู และ เติบโตทางเศรษฐกิจส่วนภูมิภาคร่วมบ่มเพาะความสัมพันธ์หุ้นส่วนทวิภาคีเพื่อรับมือกับการท้าทายให้ดี ก้าวสู่อนาคตที่มีความเหนียวแน่นและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากการเปิดบริการให้กับการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จนถึงข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่หยั่งรากในประเทศอาเซียน ตลอดจนผลักดัน RCEP มีผลบังคับใช้ งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนเป็นสักขีพยานแห่งการเปิดประตูของจีน ให้กว้างขวางมากขึ้น และ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเศรษฐกิจจีน-อาเซียน ที่ลงลึกอีก
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
TAG : 0 0 Google + 0 เขียนเมื่อ : เสาร์ 1 ตุลาคม 2565 18:23:00 เข้าชม : 1972855 ครั้ง