
วันนี้ (10 พ.ย. 2565) อานันท์ ปันยารชุน ประธาน อมาตยา เซ็น เลคเชอร์ ซีรีย์ กรุงเทพฯ พร้อมคณะจัดงาน โจ ฮอร์น-พัธโนทัย กรรมการผู้จัดการ Strategy613 และ ณพวงศ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานร่วมสมาคมศิษย์เก่า LSE ประเทศไทย เปิดปาฐกถาหัวข้อ “What We Owe Each Other” ว่าด้วยเรื่องสัญญาประชาคมในศตวรรษที่ 21 โดย บารอนเนส มินุช ชาฟิค ผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ลอนดอน (London School of Economics and Political Science – LSE) ร่วมเสวนากับนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ศาสตราจารย์อมาตยา เซน และ ศาสตราจารย์อลิซาเบธ โรบินสัน โดยมีบุคคลสำคัญ อาทิ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม, โชติ โสภณพนิช, อิสระ ว่องกุศลกิจ, สราวุฒิ อยู่วิทยา, เอกอัครราชทูต และตัวแทนจากสถานทูตมากกว่า10 ประเทศ เข้าร่วมงาน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
ศาสตราจารย์อมาตยา เซน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1998 มีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ลอนดอน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ความทุ่มเทในการพัฒนาด้านเศรษฐศาสตร์ของศาสตราจารย์เซนนั้นมากเกินบรรยาย เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม และได้เปลี่ยนวิธีการประเมินความสำเร็จให้กับหน่วยงานระดับโลกต่างๆ เช่น ธนาคารโลก และ สหประชาชาติ ในปีนี้เหมือนเช่นเคย ศาสตราจารย์เซน ให้เกียรติมาเป็นผู้ร่วมเสวนากิตติมศักดิ์ในการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประชาคมใหม่ครั้งนี้ด้วย
หลังจากการเกษียณอายุของ ศาสตราจารย์เซน ในฐานะอาจารย์ประจำวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 2004 ศิษย์เก่าของวิทยาลัยทรินิตีได้รวมตัวจัด Amartya Sen Lecture Series โดยเชิญวิทยากรระดับสูงมาร่วมอภิปราย โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยยกระดับคุณภาพของการอภิปรายสาธารณะในประเด็นต่างๆ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ความยุติธรรม ประชาธิปไตย
ในปี ค.ศ. 2015 อานันท์ ปันยารชุน ได้เริ่มคุยกับ โจ ฮอร์น-พัธโนทัย ถึงความคิดที่จะนำปาฐกถานี้มาสู่เอเชีย และหลังจากประสบความสำเร็จในการบรรยาย 2 ครั้งแรกในกรุงเทพฯ โดยมี Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น และ Angel Gurría เลขาธิการ OECD เป็นผู้บรรยาย ในปีนี้คณะผู้จัดได้เชิญ บารอนเนส มินุช ชาฟิค นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้า เคยดำรงตำแหน่งรองประธานธนาคารโลก ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 2008-2011 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ ถัดมาในปี ค.ศ. 2011-2014 ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และในปี ค.ศ. 2014-2017 ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน บารอนเนส มินุช ชาฟิค ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย LSE มาบรรยายในหัวข้อ “What We Owe Each Other”
อานันท์ ปันยารชุน กล่าวเปิดงานว่า ขณะที่เขาเรียนอยู่ที่เคมบริดจ์กับอมาตยา เซน ในปี ค.ศ.1950 พันธสัญญาทางสังคมในตอนนั้นมีความแตกต่างจากปัจจุบันมาก ในทศวรรษต่อมา เราได้เห็นอายุขัยที่เพิ่มขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้น ความเจริญรุ่งเรืองที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเกิดที่ลดลง ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของสัญญาประชาคมในปัจจุบัน เมื่อเผชิญกับ “ชีวิตวิถีใหม่” ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด และภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่วนเวียนเกิดขึ้น เราจึงต้องการสัญญาประชาคมฉบับใหม่
บารอนเนส มินุช ชาฟิค บรรยายถึงพันธสัญญาทางสังคมต่างๆ ที่ผูกมัดประชาชน รัฐบาล ครอบครัว และสังคมว่า บางอย่างเป็น “ข้อตกลงที่ไม่ได้เจรจา” เช่น ข้อตกลงระหว่างสมาชิกต่างวัยในครอบครัวเดียวกัน หรือ ระหว่างสามีภรรยา ในการรับผิดชอบงานบ้านหรือการเลี้ยงลูก บางอย่างเป็นสัญญาที่เป็นทางการ เช่น นายจ้างจัดหาเงินบำนาญให้ลูกจ้าง และยิ่งไปกว่านั้น คือพันธสัญญาระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เช่น การจัดหาบริการด้านสุขภาพและการศึกษา การจ่ายเงินทางสังคมส่วนใหญ่ที่ประชาชนได้รับจากรัฐบาล ไม่ว่าในช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่มาในรูปแบบของการศึกษา หรือในช่วงหลังของชีวิตในรูปแบบของการดูแลสุขภาพ ที่ไม่ได้มาจากรายได้ที่แบ่งจาก “คนรวย” แต่เป็นเงินสมทบแบบเติมเงิน หรือ จ่ายภายหลังจากการออมของตนเองในรูปแบบของภาษีที่จ่ายให้กับรัฐบาลในช่วงปีวัยทำงาน
หลังจากการบรรยาย บารอนเนส ชาฟิก ได้เข้าร่วมอภิปรายกับ ศาสตราจารย์เซน และ ศาสตราจารย์อลิซาเบธ โรบินสัน โดยมี โจ ฮอร์น-พัธโนทัยเป็นผู้ดำเนินรายการ ศาสตราจารย์โรบินสันเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม และ เป็นหัวหน้าสถาบันวิจัย Grantham ของ LSE ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ สิ่งแวดล้อม
ระหว่างการอภิปราย ศาสตราจารย์โรบินสัน กล่าวถึงความจำเป็นในการทำสัญญาประชาคมฉบับใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มลงมือในตอนนี้ ก็อาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้ว ศาสตราจารย์เซน ยังตั้งข้อสังเกตว่า สังคมสูงวัยไม่ควรถูกมองว่า เป็นปัญหา แต่ควรมองในแง่บวกว่าเป็นความจริงที่เราทุกคนต้องเผชิญ
TAG : 0 0 Google + 0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 11 พฤศจิกายน 2565 09:08:59 เข้าชม : 1875992 ครั้ง
What We Owe Each Other
H.E. Mr. Anand Panyarachun, Chairman of Amartya Sen Lecture Series Bangkok, hosted a lecture at the Grand Hyatt Erawan under the topic of “What We Owe Each Other” by Baroness Minouche Shafik, Director of the London School of Economics and Political Science (LSE) sharing her thoughts regarding our need for a new social contract for the 21st century, with Professor Amartya Sen, Nobel Prize Economist, and Professor Elizabeth Robinson as panelists. The event was organized by Joe Horn-Phathanothai, CEO of Strategy613 and Napawong Snidvongs Na Ayuthaya, Co-Chairman of LSE Alumni Thailand, and included notable guests such as H.E. Dr. Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya, Bangkok Governor Chadchart Sittipunt, Dr. Piyasvasti Amranand, Khunying Jada Wattanasiritham, Chote Sophonpanich, Isara Vongkusolkit, Saravoot Yoovidhya, Ambassadors and Representatives from more than 10 embassies.
Professor Amartya Sen is the 1998 Nobel Prize Laureate in Economic Sciences. He has associations with many of the world’s top universities, including Cambridge, the LSE, Oxford and Harvard. His contribution to the field of development economics is difficult to overstate. He introduced a holistic view of human development, and changed the way agencies such as the World Bank and the UN evaluate their achievements. He is also a leading scholar on the topic of this year’s Lecture, namely the social contact.
Following the retirement of Professor Sen as Master of Trinity College, Cambridge in 2004, the Amartya Sen Lecture Series was launched by alumni of Trinity College. Through lectures which bring speakers of the highest level to stimulate discussion, the Series intends to help raise the quality and profile of public debate about issues such as sustainable development, the environment, justice, democracy.
In 2015, khun Anand Panyarachun – who studied at Trinity College, Cambridge at the same time as Professor Sen – and Joe Horn-Phathanothai brought the Lecture Series to Asia. Following the success of the first two Lectures in Bangkok, featuring Bank of Japan Governor Haruhiko Kuroda, and then OECD Secretary-General Angel Gurría, khun Anand and Joe invited Baroness Minouche Shafik, the Director of the LSE, to give a talk on the topic: “What We Owe Each Other”.
Khun Anand Panyarachun, in his opening remarks, noted that while he was studying in Cambridge with Amartya Sen in the 1950s, the social contract was very different. Over the subsequent decades, we have seen rising life expectancy, improved education, increased prosperity, and lower birth rates, all leading to fundamental changes in this contract. Today, in the face of a “new normal” created by Covid and looming environmental catastrophe, we are in need for a new social contract.
Baroness Minouche Shafik described the various social contracts that bind people and their government, families, societies. Some are “unspoken agreements” such as those between generations of a same family, or between husbands and wives in relation to household chores or the raising of children. Others are formal contracts, like the provision of pensions by employers. And then there are the contracts between us and our governments, such as the provision of healthcare and education. Contrary to popular belief, much of the social payouts one receives from the government, whether during the early stages of life, in the form of education, or at the later stages of life, in the form of healthcare, are not from redistributed income from “the wealthy”, but are prepaid/post-paid contributions from one’s own savings in the form of taxes paid to the government during our working years.
After her talk, Baroness Shafik was joined on a panel discussion with Professor Sen and Professor Liz Robinson. The panel was moderated by Joe Horn-Phathanothai. Professor Robinson is a top environmental scientist, and heads LSE’s Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment one of the most reputable research centres on the topic.
During the panel discussion, Professor Robinson addressed the need for a new social contract in order to solve the problem of environment degradation. Climate action needs to be taken now, or never. Professor Sen also remarked how ageing society should not be viewed as a problem, but rather more positively as a reality that we will all have to face.