
ปี่กลองการเลือกตั้ง เริ่มบรรเลง หลังจากผู้สมัคร ว่าที่ ส.ส. ทั้งเขต และ ปาร์ตี้ลิสต์ เสร็จสรรพ การหาเสียงเข้มข้นทุกพื้นที่ พรรคใหญ่ ยกเวทียักษ์ปราศรัยหาเสียงกันอย่างคึกคัก ทุกพรรค ยกกองเชียร์กันมาอย่างเนืองแน่น สร้างขวัญและกำลังใจให้กันและกัน ร้อนแค่ไหน ก็ไม่แผ่ว ต่างลุยหาเสียง ทุกพื้นที่ ต่างพรรค ต่างคน ต่างเขต ต่างก็อยากได้เบอร์เดียว เบอร์ชัยชนะ ก็ต้องเลขเดียว แต่การจับฉลากเบอร์ ได้เลขเดียว กลายเป็นพรรคเล็ก ๆ ส่วนพรรคใหญ่ ได้เลขคู่กัน ทำให้เกิดปรากฎการณ์แปลกที่สุด พรรคลุงตู่ –พลเอกประยุทธ์ ได้เบอร์ 22 ตรงกับวันรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค. ปี 57 ลุงตู่ ชูนิ้ว 22 อย่างเท่ (ชู Y2K ก็ได้) ส่วน ลุงป้อม-พลเอกประวิตรฯ พรรคพลังประชารัฐ ได้เบอร์ 37 ก็ตีความจากลุงป้อม เลขสวย 3 บวก 7 เป็น 10 ถือว่า เป็นเลขที่ดี เลขมงคล (เอากับลุงป้อม) 3 คือ สอดคล้อง นโยบายพรรค ส่วน 7 หลักบัตรประชารัฐ 700 บาท สำหรับพรรคไทยสร้างไทย ได้เบอร์ 32 เจ้หน่อย-คุณหญิงสุดารัตน์ ตีความ องค์ประกอบอวัยวะ ครบ 32 เป็นพรรคสมบูรณ์แบบ ร่างกายแข็งแรง สู้ไม่ถอย ส่วน พรรคเพื่อไทย ได้เบอร์ 29 หัวหน้าพรรค หมอชลน่าน บอก ถึงเวลาบิดตกนายกฯ คนที่ 29 ต้อนรับนายกฯ คนที่ 30 อ้าว…ว่างั้นไป !!
การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ ในรอบทศวรรษ ครั้งนี้ นักการเมืองส่วนใหญ่ ก็หน้าเดิม ๆ เพียงแค่ย้ายขั้ว ย้ายพรรค ส.ส.ขายตัว เจอพลังดูดจากพรรคใหญ่ ๆ สยบกันหลายราย ค่าตัว ส.ส. ในอดีต เกรด A เกรด B เกรด C ราคา 3 , 5 , 7 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ยุคนี้ ราคาค่าตัวสูงลิ้ว ต้อง 40-50-60 ล้านบาท เงินเฟ้อ ข้าวของแพง ไปตามยุคสมัย (ฮา…ฮา..ฮา) ไม่แน่ใจว่า ว่าที่ ส.ส. จะมีสักกี่คน คิดถึงว่า การเป็นผู้แทนที่ดี ต้องมองประชาชนแบบไหน ? เคยคิดไหมว่า ต้องมองประชาชนเป็นเจ้านาย (People are my boss) คิดแต่วิธีชนะ ต้องได้ครองเสียงอันดับ ที่ 1 ไม่ก็ 2 เพื่อได้จัดตั้งรัฐบาล เป็นฝ่ายบริหาร มีตำแหน่งเสนาบดี คุมกระทรวงเกรด A เกรด B นักการเมืองหน้าเก่า ประเภทเขี้ยวลากดินทั้งนั้น ส่วนนักการเมืองรุ่นใหม่ หนุ่ม-สาว อุดมการณ์ก็อีกแบบ แต่เสียดาย มัวแต่จะล้ม ม.112 ควรมุ่งไปแก้ไข ปากท้องประชาชน โครงสร้างพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า เหมือนพรรคชาติพัฒนากล้า หัวหน้าพรรค ชื่อ กรณ์ จะดีกว่า การเลือกตั้งที่ใกล้จะถึง (14 พ.ค.) ประชาชนพิจารณาหลายองค์ประกอบ ยุคนี้ สื่อโซเชียล หลากหลาย ทำให้มีโอกาสเสพสื่อกันวันต่อวัน การคำนวณ ปาร์ตี้ลิสต์ จำนวน 3 ล้าน 5 หมื่น คน หาร 100 จะได้ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน ไม่ใช่ว่า พรรคใหญ่ จะได้เปรียบ พรรคขนาดกลาง อย่างพรรคก้าวไกล จะได้มาก เมื่อครั้งเลือกตั้งปี 62 พรรคอนาคตใหม่ (ตอนนี้ เปลี่ยนเป็นพรรคก้าวไกล) ครองปาร์ตี้ลิสต์ มากสุด ทั้ง ๆ ที่เป็นพรรคขนาดกลาง ไม่ใหญ่ โพลหลายสำนัก อาทิ นิด้าโพล , ซุปเปอร์โพล ต่างให้พรรคเพื่อไทย ครองที่นั่ง ส.ส. มากสุด (โพลล่าสุด เนชั่นโพล ทำแบบสอบถาม ถึงลูกถึงคน เคาะประตูบ้าน จากแบบสำรวจสอบถาม แสนกว่าราย น่าเชื่อถือ รอหน่อย ) รองลงมา พรรคพลังประชารัฐ , พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า , พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ พรรคอันดับรอง อย่างเก่ง ครองที่นั่ง ส.ส. ประมาณ 50-70 ที่นั่ง สังเกตการเลือกตั้งครั้งใหม่ ระหว่าง ปี 62 กับ ปี 66 แตกต่างกัน เพราะการแบ่งเขตเปลี่ยนแปลง ที่มาการซื้อ ส.ส. การจัดตั้งรัฐบาล ต้องมี ส.ส.เป็นกอบเป็นกำ มีแค่ 5 คน 10 คน ไม่ได้ (ในอดีต หม่อมคึกฤทธิ์ ปราชญ์แห่งยุค มี ส.ส. 18 เสียง จัดตั้งรัฐบาล นั่น…พลังส่วนบุคคล) จึงเป็นที่มาการซื้อตัว ส.ส. พรรคเพื่อไทย นโยบายใหม่ ฉบับ คิดใหญ่ ทำเป็น พาประเทศไทยออกจากวิกฤต ดัน ยุทธศาสตร์ แลนด์สไลด์ มาตลอด ก็ต้องใช้วิธีนี้ มีคนเอ่ยว่า “การเมืองซื้อ ส.ส. เป็นการเมืองที่บัดซบ เลวร้ายที่สุด” พวกนักการเมืองรุ่นเก๋า รุ่นเก่า (บางคน) หน้าด้าน หน้าทน การจัดตั้งรัฐบาล ต้องมีเสถียรภาพ เสียงปริ่มน้ำ ไปไม่รอด ครบ 4 ปี บริหารลำบาก
วกกลับมาการเลือกตั้ง เกาะภูเก็ต ซึ่งมี 11 พรรคการเมือง 32 ผู้สมัคร ว่าที่ ส.ส. พรรคใหญ่ ๆ อาทิ พรรคพลังประชารัฐ , พรรคเพื่อไทย , พรรครวมไทยสร้างชาติ , พรรคภูมิใจไทย , พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ ต่างพรรค ต่างเบอร์ ได้เบอร์ครบถ้วน พรรคการเมืองสมัครลงแข่งขัน 11 พรรค เป็นปรากฏการณ์ ครั้งแรก ที่มีพรรคการเมืองลงสมัครมาก เพียงเขต ภูเก็ต เพิ่ม ส.ส. เขต อีก 1 เขต (คิดจาก จำนวน ประชากร 165,000 คน ต่อ 1 เขต) จากเดิม มีเพียง 2 เขต ประชากรอาศัยในภูเก็ต เพิ่มขึ้น และเจ้าเก่า พรรคประชาธิปัตย์ ครองแชมป์มาหลายสมัย มาเพลี่ยงพลั้งตอนปี 62 แพ้พรรคพลังประชารัฐ หลุดลุ่ย !! ทั้ง 2 เขต 2 คน มาเที่ยวนี้ หวังจะกลับมาครองแชมป์ แต่ก็ดูจะไม่ง่าย อย่างที่คิด ลุงป้อม-พลเอกประวิตร (ค่ายบูรพาพยัคฆ์ ข่าวแว่ว ๆ มีอดีตนายพลหนุนหลายราย) จัดทัพใหม่ เขต 1 สุทา ประทีป ณ ถลาง ลุกไปนั่งเขต 2 หลีกทางให้ โกยุส –จิรายุส ทรงยศ นั่งแทน ส่วน เขต 3 นัทธี ถิ่นสาคู เหมือนเดิม สาเหตุการโยกเขต น่าจะเป็นการแบ่งเขตเปลี่ยนแปลง ไม่เหมือนเดิม จึงต้องปรับกลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากพรรคประชาธิปัตย์ วาดหวัง ว่า จะกลับมาครองแชมป์ ยังมีพรรคภูมิใจไทย , พรรครวมไทยสร้างชาติ , พรรคชาติพัฒนากล้า ฯลฯ จ่อคิวรอเส้นชัย หากเปรียบดูมวย พรรคอื่น ๆ เปรียบเสมือน “มวยไม่มีราคา ม้าไม่มีชั้น” โอกาสพรรคอื่น ๆ เข้าสู่เส้นชัย ไม่ง่าย พรรคพลังประชารัฐ วางกลยุทธ์ กลวิธี 3 นโยบายหลัก บัตรประชารัฐ 700 ส่วน พรรครวมไทยสร้างชาติ “ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ” ชู นโยบาย เพิ่มสิทธิ “บัตรสวัสดิการพลัส เป็น 1 พัน /เดือน และ ใช้สิทธิฉุกเฉินได้อีก 1 หมื่น/คน ตั้ง กองทุนฉุกเฉินประชาชน วงเงิน 3 หมื่นล้าน บาท แก้หนี้ ปลดหนี้ด้วยงาน รื้นกฎหมายที่รังแกประชาชน และเป็นอุปสรรคการทำกิน ฯลฯ พรรคเพื่อไทย วางยุทธศาสตร์ “แลนด์สไลด์ ทั่วแผ่นดิน” วางนโยบาย สวยหรู เพิ่มคุณภาพชีวิต ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน ปริญญาตรี 2 หมื่น 5 บาท/เดือน แก้ปัญหา PM 2.5 ที่ทุกต้นตอ , 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ เรียนฟรี มีงานทำ สร้างงาน 20 ล้าน ตำแหน่ง รายได้ 2 แสนบาทต่อปี
กระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งประเทศ เติมเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ให้ทุกคน ใช้จ่ายใกล้บ้าน 4 กิโลเมตร คนไทยที่มีอายุ 16 ปี ขึ้นไป จะได้ กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) พร้อมเงิน 1 หมื่นบาท ใช้ได้ 6 เดือน ที่ร้านค้ารัศมี 4 กม. นโยบายนี้ เป็นที่ฮือฮา สังคมจับจ้อง ว่า นโยบายนี้ ทำได้จริงไหม ? ประชากรไทย 53 ล้านกว่าคน ที่ใช้สิทธิ ใช้เสียง รวมผู้ที่มีอายุ 16 ปี ขึ้นไป อีก ล้านกว่าคน ต้องใช้เงิน 5 แสน 4 หมื่น ล้านบาท หาเสียงนโยบายล้านล้าน บาท ประชานิยม สวนทางงบประมาณ ประจำปีฯ จะหาเงินมาจากไหน ? ลด-แลก-แจก-แถม นโยบายระยะยาว สร้างปัญหาให้สังคม ไม่ได้สร้างความมั่นคง มีบางประเทศ ล้มละลาย เรื่องประชานิยม กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน พรรคการเมืองใหญ่ ๆ ไม่มีใครยอมใคร ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ จึงดุเดือดเผ็ดร้อนอย่างแน่นอน
บทสรุป นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมือง แต่ละพรรค สวยหรู น่าเลื่อมใส (believability) แต่ทางปฏิบัติทำได้จริงแค่ไหน ? ประชาชนชาวไทย ที่มีสิทธิ์ ใช้สิทธิ์ ใช้เสียง (14 พ.ค.) กาพรรค (ปาร์ตี้ลิสต์) กาเบอร์ (กาคน) บัตร 2 ใบ เข้าคูหาต้องมีสติ
ทีมข่าว (การเมือง) นสพ.อาณาจักรนิวส์ รายงาน (มีต่อ ภาค 3)
Cr ขอบคุณเจ้าของภาพ (บางส่วน)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : จันทร์ 10 เมษายน 2566 12:32:59 เข้าชม : 1978511 ครั้ง