Home ข่าวเด่น ดิจิทัล ซีอีโอ ‘แอร์บัส ไชน่า’ ชี้ ห่วงโซ่อุปทานจีน จำเป็นต่อการขยายกำลังผลิต ระดับโลก

ซีอีโอ ‘แอร์บัส ไชน่า’ ชี้ ห่วงโซ่อุปทานจีน จำเป็นต่อการขยายกำลังผลิต ระดับโลก

16 second read
0
0
125

ปารีส, 17 ก.ค. (ซินหัว) — สวีกั่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอร์บัส ไชน่า (Airbus China) เปิดเผย กับสำนักข่าวซินหัว ว่า ตลอด 40 ปี ที่แอร์บัสดำเนินธุรกิจในจีน บริษัทฯ ได้สร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืนกับพันธมิตรจีน ซึ่งห่วงโซ่อุปทานของจีน มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตทั่วโลกของแอร์บัส

สวี ระบุ ว่า บริษัทฯ ส่งมอบเครื่องบินเอ310 (A310) เครื่องบินพลเรือนลำแรก ให้จีนในปี 1985 ขณะที่ปี 1995 สายการบินซื่อชวน แอร์ไลนส์ กลายเป็นลูกค้ารายแรกของเครื่องบินเอ320 (A320) ในจีน ปีนี้จึงถือเป็นวาระครบรอบ 40 ปี ของความร่วมมือระหว่างแอร์บัส กับอุตสาหกรรมการบินของจีน และครบรอบ 30 ปี ที่ เอ 320 เข้าสู่ตลาดจีน

ปัจจุบัน แอร์บัส ครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของฝูงบินพลเรือนในจีน โดยมีเครื่องบิน มากกว่า 2,200 ลำ และราวหนึ่งในสามของเครื่องบินเหล่านี้ผลิตจากสายการประกอบขั้นสุดท้ายของเอ320 ในเทียนจิน

สายการผลิตที่เทียนจิน เริ่มดำเนินการ ในปี 2008 และกลายเป็นต้นแบบของความร่วมมือด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ระหว่าง จีนกับยุโรป โดยส่งมอบเครื่องบินไปแล้ว เกือบ 800 ลำ โดยในปี 2024 หนึ่งในสี่ของจำนวนนี้ ส่งออกไปยังต่างประเทศ

สวี ระบุ ว่า บรรดาบริษัทจีน โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศจีน (AVIC) มีบทบาทสำคัญในการประกอบปีกเครื่องบิน ระบบตัวถัง และชิ้นส่วนจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบริษัทจีน ที่เป็นพันธมิตรในกระบวนการผลิต

ขณะนี้ แอร์บัส กำลังก่อสร้างสายการประกอบ เอ320 แห่งที่สองในจีน โดย คาดว่า จะเปิดดำเนินการได้ต้นปี 2026 และเมื่อดำเนินงานเต็มที่แล้ว จะสามารถเพิ่มกำลังผลิตในจีนได้เป็นสองเท่า

สวี เสริมว่า ห่วงโซ่อุปทานของจีน มีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ และคุณภาพสูง ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถของแอร์บัส ในการแข่งขันระดับโลก อย่างมีนัยสำคัญ

สวี ระบุ ว่า ความร่วมมือกับจีนไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพให้กับแอร์บัส แต่ยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินของจีน ให้เข้าสู่ตลาดโลก ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน

สำหรับอนาคต สวี มองว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรป ในอุตสาหกรรมการบิน ยังมีศักยภาพอีกมาก โดยเฉพาะด้านนวัตกรรมดิจิทัล และการพัฒนา อย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาโซลูชันดิจิทัลร่วมกัน และการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการบินโลก ผ่านความร่วมมือด้านเทคโนโลยี มาตรฐาน และกฎระเบียบ

(เนื้อหาโดย Li Wenxin เรียบเรียงโดย Yu Huichen, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/524650_20250717 , https://en.imsilkroad.com/p/346428.html

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 18 กรกฎาคม 2568 16:18:59 เข้าชม : 1798422 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมงาน แถลงข่าว ASIA LINK SKETCHWALK PHUKET 2025

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00 น. ณ Limelight P … …