
ปีนี้ เป็นวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง จีนกับไทย ทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศ ได้จัดกิจกรรมรำลึก และเฉลิมฉลองกัน อย่างต่อเนื่อง โดยมีคำขวัญร่วมกัน ว่า “จีน-ไทยร่วมใจ สู่อนาคตร่วมกัน” การส่งเสริมความสัมพันธ์จีน-ไทยให้ก้าวขึ้นสู่ระดับใหม่อย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นเสียงจากใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และเป็นทิศทางของทั้งสองประเทศ ในการใช้ความพยายามร่วมกัน ในระยะยาว
ความสัมพันธ์ระหว่าง จีนกับไทย มีรากฐานอันยาวนาน ประชาชนทั้งสองประเทศ มีประวัติการไปมาหาสู่กันฉันมิตรมายาวนาน นับพันปี นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูต ในปี ค.ศ. 1975 ความร่วมมือฉันมิตรในทุกด้านระหว่างจีนกับไทยได้พัฒนาอย่างคึกคัก ทั้งสองฝ่าย ต่างนิยมหยิบยกวลี “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” มาเปรียบเปรยความสัมพันธ์จีน-ไทย ซึ่งความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นนี้หาได้ยากยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่น ๆ ทางการจีน ยังมักจะสรุปความสัมพันธ์จีน-ไทย ด้วย 3 ประโยค อันได้แก่ “เพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมถึงกันทั้งภูเขา และแม่น้ำ”, “ญาติสนิทร่วมสายโลหิต”, และ “หุ้นส่วนที่ดี ที่มีอนาคตร่วมกัน”
ในช่วงเวลายาวนานที่ผ่านมา แม้ทั้งสองประเทศ มีระบบสังคมที่แตกต่างกัน และ ไม่ว่า สถานการณ์ระหว่างประเทศ จะเปลี่ยนแปลงเพียงใด แต่จีนและไทยยึดมั่นในหลักการเคารพซึ่งกันและกัน เสมอภาค ช่วยเหลือกันและร่วมมือกันเสมอมา ทั้งสองฝ่าย ต่างสนับสนุนสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างเต็มที่ ในการเลือกเส้นทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการปกป้องผลประโยชน์หลักของตน สิ่งเหล่านี้ ไม่เพียงนำความผาสุกมาสู่ประชาชนของทั้งสองประเทศ เท่านั้น แต่ยังร่วมกันพิทักษ์เสถียรภาพ การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคกระทั่งทั่วโลกอีกด้วย ถือเป็น “ต้นแบบแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ระหว่างประเทศ ที่มีระบบสังคมต่างกัน” และ “ต้นแบบแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย”
เมื่อเผชิญกับความยากลำบากและบททดสอบ ทั้งสองประเทศเข้าใจซึ่งกันและกัน และร่วมทุกข์ร่วมสุขมาโดยตลอด ยกตัวอย่างตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชีย ไปจนถึงภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย จากแผ่นดินไหวเวิ่นชวน ไปจนถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่างฝ่ายต่างยื่นมือเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้มิตรภาพระหว่างจีนกับไทยแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
การอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะที่โดดเด่นของความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย และเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองประเทศเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของกันและกัน มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับไทยเพิ่มขึ้นจาก 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเริ่มต้นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นกว่า 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปัจจุบัน จีนเป็นแหล่งลงทุนรายใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย จีนสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการยกระดับอุตสาหกรรมของไทย พร้อมใช้ข้อได้เปรียบของตลาดขนาดใหญ่ของจีนเพื่อขยายการนำเข้าสินค้าเกษตรคุณภาพสูงจากไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองประเทศยังเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างลึกซึ้ง ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทสัญชาติจีนในไทยที่ได้ลงทะเบียนไว้กับสถานทูตจีนประจำประเทศไทย กว่า 1,000 บริษัท โดยส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง พลังงานใหม่ และการสื่อสาร ซึ่งล้วนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทย
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนของประชาชน ที่มีความคึกคัก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง จีนกับไทย แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจีนและไทย เข้าสู่ “ยุคปลอดวีซ่า” ระหว่างกัน เมื่อปี 2024 ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนของประชาชน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ กำลังก้าวเข้าสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ปัจจุบัน “กระแสความนิยมภาษาจีน” ในไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลมีโรงเรียนในไทยมากกว่า 3,000 แห่ง เปิดสอนภาษาจีน มีนักเรียนที่เรียนภาษาจีนมากกว่า 1 ล้านคน มีครูและอาสาสมัครจากจีนเดินทางมาไทยเพื่อสอนภาษาจีนรวมแล้ว มากกว่า 20,000 คน และแต่ละประเทศ ต่างก็มีนักเรียนแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ที่กำลังศึกษาอยู่มากกว่า 30,000 คน
จีนกับไทย ยังเป็นพันธมิตรที่ดีบนเวทีพหุภาคี ทั้งสองประเทศ ต่างก็ยืนหยัดสนับสนุนระบบพหุภาคี และการค้าเสรี สนับสนุน การเสริมสร้างความร่วมมือ และความสามัคคี ต่อต้านการแบ่งแยก และการเผชิญหน้า ซึ่งได้เพิ่มพลังบวกให้กับสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค กระทั่ง ทั่วโลก
ความสัมพันธ์จีน-ไทย ได้รับการเอาใจใส่ และให้ความสำคัญอย่างสูง จากผู้นำทั้งสองประเทศ และพระราชวงศ์ไทย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ โดยผู้นำสองประเทศ ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับไทยที่มั่นคง เจริญรุ่งเรือง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งได้ขับเคลื่อนความสัมพันธ์เข้าสู่ยุคใหม่
เท่าที่ทราบ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จเยือนจีนอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ ซึ่งฝ่ายจีน ถือว่า เป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่าง จีนกับไทย โดย ฝ่ายจีน จะเตรียมการอย่างรอบคอบที่สุด เพื่อให้การเยือนครั้งนี้ ประสบความสำเร็จ เชื่อว่า ด้วยการชี้นำของผู้นำระดับสูงและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทางยุทธศาสตร์ จะช่วยเสริมสร้างรากฐานทางการเมือง ให้ความสัมพันธ์จีน-ไทย มั่นคงยิ่งขึ้น และสร้างแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ความสัมพันธ์จีน-ไทย ก้าวขึ้นสู่ระดับใหม่
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 18 กรกฎาคม 2568 17:08:59 เข้าชม : 1897522 ครั้ง